FTC TALK EP.38 : เมื่อวิกฤตยูเครน - รัสเซียมาถึง เราจะรับมืออย่างไร ?

โดย Admin T
 วันที่ 25 มี.ค. 2565 เวลา 11:50 น.
 1223
สรุปการเสวนา
FTC TALK  EP.38  : เมื่อวิกฤตยูเครน - รัสเซียมาถึง
เราจะรับมืออย่างไร ?
 

 

      FTC Talk สัปดาห์นี้ นายแพทย์วัชรา ทรัพย์สุวรรณ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ FTC ให้เกียติแบ่งปันข้อมูลที่มาของความขัดแย้ง จนเกิดเป็นสงครามรัสเซีย - ยูเครน และคุณณัฐธนัญ สุภหัสดิ์ คณะกรรมการดำเนินการชุดที่ 18 แบ่งปันประสบการการบริหารจัดการการเงินที่ใช้ได้ทุกยุคสมัย ทุกสภาวะเศรษฐกิจ

 

ความขัดแย้งรัสเซีย – ยูเครนเกิดขึ้นมีต้นเหตุเกิดมาจากสาเหตุใด

                      นายแพทย์ วัชรา : การแตกของสหภาพโซเวียตเกิดขึ้นเมื่อประมาณ 30 ปีก่อน ในรัฐบาลของ ฮาอิล กอร์บาชอฟ เมื่อแตกแยกประเทศเล็กประเทศน้อย ที่เคยอยู่ในสหภาพโซเวียตก็เป็นอิสระ กลุ่มหนึ่งก็อยากจะออกจากสหภาพโซเวียต เนื่องจากเห็นความก้าวหน้าของค่ายเสรีนิยม อย่างกลุ่มอเมริกาหรือกลุ่มประชาชาติยุโรปมันเกิดการแตกฝักแตกฝ่าย ในความคิดอนุรักษ์เดิมในความคิดที่จะก้าวหน้าไปในระบบเศรษฐกิจใหม่ กลุ่มประเทศที่ออกมาจากสหภาพโซเวียต อย่างยูเครนมีคนสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งนิยมรัสเซียพูดภาษารัสเซีย อีกกลุ่มนึงอยากจะเรียกความเป็นยูเครนของตัวเองกลับมา จะเป็นกลุ่มพูดภาษายูเครน รัสเซียมีข้อตกลงกับอเมริกาว่า อเมริกาจะต้องไม่ขยายขอบเขตประชากลุ่มสนธิสัญญาป้องกันเนโต้ จะต้องไม่ขยายออกไป และจะต้องไม่มีประเทศที่เป็นสมาชิกเนโต้ ประชิดชายแดนรัสเซีย ความวุ่นวายความเห็นต่างในยูเครนครั้งหนึ่งมันก็เกิดการเดินขบวนขับไล่ประธานาธิบดี วิกตอร์ ยากูโนวิช จนกระทั่งวิกตอร์ ยากูโนวิช ต้องไปลี้ภัย เขาเป็นคนนิยมรัสเซีย ต้องลี้ภัยไป ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน เซเลนสกี ขึ้นมา เซเลนสกี ฝักใฝ่ทางยุโรปอเมริกาจะขอเข้าร่วมในกลุ่มสนธิสัญญาเนโต้เป็นเหตุที่ทำให้รัสเซียพยายามแทรกแซงกลุ่มแบ่งแยกดินแดนในยูเครนในที่สุดประกาศให้สองแคว้นในยูเครนเป็นประเทศเอกราชรวมถึงการส่งทหารเข้ารบ เป็นสงครามเปิดเผยตัวตนจริงๆ
                      ตั้งแต่สงครามรัสเซีย-ยูเครนปะทุขึ้น ราคาพลังงานก็พุ่งสูงตาม โดยราคาน้ำมันดิบพุ่งสูงขึ้นเกิน 100 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล จากเดิมที่อยู่แค่ราวๆ 90 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เมื่อน้ำมันซึ่งเป็นต้นทุนการผลิตสินค้าและขนส่ง ก็จะทำให้ราคาสินค้าและค่าขนส่งยิ่งแพงขึ้น กระทบทั้งค่าครองชีพ และภาคการส่งออก รวมทั้งสภาวะเงินเฟ้อ จะส่งผลต่อเศรษฐกิจในทุกระดับ
 
เมื่อเกิดวิฤกตเราจะรับมือ และวางแผนการเงินอย่างไร
                      คุณณัฐธนัญ : ไม่ว่าภาวะเศรษฐกิจมันจะรุนแรง แต่ถ้าเรามองสภาพเศรษฐกิจในบ้านเราก่อน วิเคราะห์ การเงินในบ้านของเราอยู่ตลอดเวลา เราจะไม่ค่อยกระทบ หรือกระทบน้อย ผมทำธุรกิจแอมเวย์อย่างเดียว เดือนที่แล้วกับเดือนนี้โบนัส เราบาลานซ์อัตราการเจริญเติบโตของธุรกิจเป็นอย่างไร รายได้ที่เข้ามาในบ้านเราเท่าไหร่ และมีการคำนวณแล้วว่าการรวบรวมรายจ่ายของเราจะให้อยู่ภายในทีเดียว เพื่อลดภาระ เลยจัดการทุกอย่างมารวม สหกรณ์ที่เราเป็นสมาชิกอยู่ จากภาระค่าใช้จ่ายเดือนละ 40,000 พอรวมมาอยู่ที่ สหกรณ์เหลือเดือนละ 17,000 ในรายรับเท่าเดิมแต่รายจ่ายลดลงแสดงว่า รายเหลือของเราเพิ่มขึ้น ก็ได้เริ่มมีการวางแผนการออมให้เพิ่มขึ้น แล้วก็สามารถเอาเงินออมไปลงทุนอย่างอื่นได้ต่อ คนส่วนใหญ่จะไปมองข้างนอกโดยลืมมองตัวเอง ลืมจัดการตัวเอง โดยมีการจัดระบบการเงินของตัวเองก็คือ ภาระค่าใช้จ่ายเช่น โดยส่วนตัวก็จะไม่เคยซื้อรถป้ายแดงจะซื้อรถมือสองตลอด จะเป็นคนที่ประหยัดมากที่สุด แต่จะไม่ทำให้คุณภาพของตัวเราลดลง ให้เราอยู่ได้ ฉะนั้นที่สำคัญก็คือว่า เมื่อรายจ่ายลด สามารถจัดสรรอะไรได้มากขึ้น
                      ฉะนั้นหนึ่งเราต้องมองเศรษฐกิจของเราก่อน โดยแก้ไขปัญหาของเราก่อน เราแก้ปัญหาวิกฤติโลกไม่ได้แก้ปัญหาโควิดไม่ได้ แต่เราแก้ปัญหาของเราได้ด้วยตัวของเราเอง โดยเริ่มต้นจากตัวเรา  คิดให้มากขึ้นกับเรื่องของตัวเราโดยไม่ต้องไปนึกถึงเรื่องของคนอื่น ทำไงให้เราอยู่ได้
                      ส่วนตัวโควิดที่ผ่านมาสามปีไม่ได้รับผลกระทบเลย โดยคนส่วนใหญ่จะแก้ปัญหาเมื่อมีวิกฤต แต่ถ้าเรามีการจัดการวางแผน แก้ปัญหาก่อนที่จะเกิดวิกฤต เราจะไม่ค่อยเจอกับวิกฤต ถึงเจอก็เจอน้อย ทุกอย่างมันอยู่ที่ตัวเรามองยังไงให้เราหารายได้ได้เพิ่มขึ้น โดยยึดหลักง่ายๆ ขยันยังไงก็ไม่มีวันอดตาย ดังนั้นการวางแผนการเงินล่วงหน้าจึงเป็นสิ่งสำคัญ
 
วางแผนอย่างไร ให้รอดทุกวิกฤต
            การวางแผนการเงินเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดเพื่อให้รอดจากวิกฤต  ที่ทุกคนสามารถนำไปใช้ได้

สำรวจตัวเอง
ลองกลับมาสำรวจสิ่งที่ตัวเองมีกันก่อน เริ่มกันที่สินทรัพย์ก่อนว่าเก็บออมไว้ที่ใดบ้าง เช่น เงินฝาก พันธบัตร หุ้น เป็นต้น และต้องไม่ลืมที่จะสำรวจหนี้สินและค่าใช้จ่าย ไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายคงที่ เช่น ค่าผ่อนบ้าน ผ่อนรถ ผ่อนสินค้า หรือค่าเบี้ยประกัน และค่าใช้จ่ายผันแปรซึ่งมากน้อยขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้ชีวิต ได้แก่ ค่าน้ำ     ค่าไฟ ค่าเสื้อผ้า หรือแม้กระทั่งค่ารักษาพยาบาลวางแผน ตั้งงบล่วงหน้า / แบ่งเงินใช้ตามวัน/จดบันทึกทึกการใช้จ่ายเมื่อเห็นแล้วว่าสามารถใช้จ่ายได้อีกกี่เดือน ขั้นตอนต่อมาเปรียบเสมือนการวางแผนเพื่อใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุดอย่างมีวินัย

เพิ่มสภาพคล่องให้ตัวเอง
            การหารายได้เสริมเป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคที่สื่อออนไลน์เข้าถึงทุกบ้านทุกวัย โดยอาจเปลี่ยนงานอดิเรกมาทำเงินผ่านช่องทางออนไลน์ ไม่ว่าการหารายได้เสริมจะเพียงพอต่อการรอดจากวิกฤตครั้งนี้ได้หรือไม่ การลดค่าใช้จ่ายเป็นอีกสิ่งที่ทุกคนควรทำเช่นเดียวกัน