สรุปการเสวนา FTC TALK EP.36 : ภาวะผู้นำ กับการลงทุน

โดย Admin A
 วันที่ 03 มี.ค. 2565 เวลา 13:08 น.
 1424
           สรุปการเสวนา
FTC TALK  EP.36  : ภาวะผู้นำ กับการลงทุน

 
             FTC Talk สัปดาห์นี้ ได้รับเกียติจาก ดร.สุเมธา โพธิ์ประสาท อดีต Vice President ธนาคารไทยพาณิชย์ เคยถูกรับเชิญให้เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยสอนหลักสูตรการบริหารการเงินหลายแห่งและเป็นนักลงทุนทั้งในอสังหาริมทรัพย์ และตลาดการเงิน การลงทุนหลากหลายมาแบ่งปันประสบการณ์การลงทุนจากการปฏิบัติจริง
 
ประสบการณ์เหล่านี้ได้มาจากไหน
           ประสบการณ์ได้จากการทำงานธนาคารลูกค้าสอน ลงทุนเราเก็บประสบการณ์มา ไม่ได้ทำเฉพาะหน้าที่แล้วจบไปขณะที่บางคนทำงานมานานแล้วยังไม่กล้าลงทุนกลัวขาดทุนแล้วไม่มีเงินใช้ตอนศึกษาอาจารย์สอนทำบัญชีนายจ้างไม่ใช่ตัวเอง

          หากอยากลงทุนเป็นจะต้องมีทัศนคติที่อยากเพิ่มคุณค่าให้ตัวเอง นักลงทุนต้องกล้าเสี่ยงบ้าง แต่ต้องมีขอบเขต รู้ว่าตัวเองเสี่ยงได้ขนาดไหน ศึกษาหาความรู้ก่อน
 
        ลูกค้าธนาคารที่ดูแลคนร่ำรวยส่วนใหญ่เขาไม่ได้ทำอาชีพเดียว คือทำอสังหาฯเพิ่ม ไม่ได้ทำอาชีพเดียว ปี 2540 เศรษฐกิจล่ม ผมมองว่าขนาดเศรษฐกิจไม่ดีคนยังต้องการที่อยู่อาศัย พอปีนั้นเป็นแพลทินัมมีรายได้เพิ่ม เลยนำเงินไปซื้อที่จากธนาคารจากลูกค้า ที่ดินถูกมาก ปี 2543 ซื้อตารางวาละ 300 บาท มองระยะยาว  เรียนรู้เพิ่มจากลูกค้า เถ้าแก่ที่ขายที่ดินได้ความรู้ไปฝังตัวกับหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องด้วย เอาเงินมาต่อยอดจากตอนแรกที่ไม่คิดจะทำ หมอวัชราสอนว่าเราต้องตั้งเป้าหมายว่าจะมีทรัพย์สินเท่าไหร่
 
การลงทุนในตลาดทั่วไปแบ่งยังไงบ้าง
แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ
  1. ตลาดเงิน คือใช้เงินไปเก็บออมไม่เกิน 1 ปี เช่น ระยะสั้น สหกรณ์หรือธนาคาร ซึ่งบางธนาคารปัจจุบันไม่มีดอกเบี้ยแล้ว
  2. ตลาดทุน คือ เอาเงินไปลงทุนเพิ่ม ระยะเวลา 3-5 ปี ซื้อเช้าบ่ายขาย คือการพนัน ฉะนั้นต้องเรียนรู้ศึกษาข้อมูลดูงบการเงินเป็น
          ฝากหุ้น กับ FTC หลักการคือการออมระยะยาว ถอนยาก เป็นการฝึกวินัย เป็นสำรองก้อนสุดท้ยาย อย่าคาดหวังว่าฝากเพื่อรอการกู้อีก 6 เดือน อาจะไม่ใช่วัตถุประสงค์หลัก
 
ต้องการเริ่มบ้างต้องทำอย่างไร
         ต้องเริ่มจากสร้างวินัยให้ตัวเอง มีเป้าหมาย อีก 5 ปี จะใช้ชีวิตยังไงเกี่ยวกับการเงิน ได้มีโอกาสอ่านหนังสือ ของคุณบัณฑิต อึ้งรังษี สมัยทำงานธนาคารเชิญมาบรรยาย แจกหนังสือ 1 เล่ม ในหนังสือบอกให้ติดเป้าหมาย เขียนเช็คให้ตัวเอง ใส่ลงไปในกระเป๋าให้มองเห็นทุกวัน ทำให้ยับยั้งว่าเปิดกระเป๋า เรามีเป้าหมาย 10 ล้านอีก 5 ปี  ต้องไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย

       คนจนจนด้วยความคิดจนด้วยโอกาส ตอนนี้เราทุกคนมีโอกาสอย่าคิดว่าเราเป็นได้เท่านี้ คนรวยวางแผนคนจนไม่วางแผน ถ้าไม่วางแผนคือเพ้อฝัน

         รายจ่ายมาติดตัวอยู่แล้วเกิดมามีค่าใช้จ่าย เราเกิดมาเราพึ่งพิงคนอื่นก่อนถ้าเราจะใช้ชีวิตเราต้องวางแผนว่ามีอะไรบ้างลงรายละเอียด ความโลภทำให้เราอยาไปข้างหน้าแต่สติปัญญาทำให้เรามีสติคิดวิเคราะห์ได้
 
จัดสรรค่าใช้จ่ายอย่างไร
       ค่าใช้จ่ายจำเป็นคือปัจจัย 4 ในชีวิต หลีกลี่ยงไม่ได้ แต่ความจำเป็นเราต้องดูว่าจำเป็นจริงๆ ไหม เช่น ล้างรถ ด้วยสายยางกับเปิดน้ำใส่ถังปริมาณน้ำที่ใช้ต่างกัน อาจเป็นเรื่องเล็กๆ แต่นี่คือวินัย ความละเอียดในการจัดการการเงินไม่ใช่อยู่ๆ ทำได้เลย แต่ต้องศึกษาวิเคราะห์เรื่อยๆ
        จัดสรรค่าใช้จ่ายจะเห็นช่องว่าง เอาค่าใช้จ่ายไม่จำเป็นมารวมกันออม เพราะการลงทุนคือความเสี่ยงจะได้มีสำรอง ลงทุนในกิจการแล้วเอาบ้านไปลงทุนต่อ เถ้าแก่ถึงสู้เต็มที่เพราะเขารู้จักเก็บออมบางส่วนไว้ด้วย
        หากค่าใช้จ่ายรายได้ไม่พอเลยต้องมีรายได้เพิ่ม ทำทุกอย่างที่ไม่ผิดกฎหมายแรงงาน สมัยก่อนยังไม่รู้จักธุรกิจ ก็รับทำโอที รับเวรเผ้าตู้ ATM และเช้าๆ เปิดประตูก็รับเปิดตอนเช้าตื่นตี 5 เวลา 6 โมงเช้าไปเปิดประตู ได้วันละ 300 บาท ถึงจะเป็นเงินเล็กน้อย สะสมเรื่อยๆ คือสม่ำเสมอ วันข้างหน้าจะวางแผนง่ายขึ้น
       เก็บออมจากรายได้ทุกช่อง อาชีพสุจริตไม่ใช่เรื่องน่าอาย หาเงินเพิ่มมาจัดการวางแผนการเงิน เงินที่ได้มายากเราใช้จ่ายยาก นิสัยการเงินต้องพัฒนาขึ้นมา มีเงินมากไม่เท่าที Cash Flow เช่น ไปทานข้าวนอกบ้านไม่เคยทริปเลย นำเงินมาหยอดกระปุก บางปี 2-3 หมื่นบาท ถ้าทริปไป 1 ปี ก็หมดไปเยอะเหมือนกัน  ความรู้รอบตัวต้องศึกษา เวลาเที่ยว  ดูหนังฟังเพลงเยอะไป ให้เอาเวลามาสร้างกระแสเงินสดดีกว่า ไม่ต้องรวยแต่ต้องไม่มีหนี้สิน ฝากกับสหกรณ์ก่อนวันที่ 20 ผมต้อเอาเงินเข้าเพื่อเก็บออม
       ที่สำคัญคือได้อยู่ใกล้คนสำเร็จ เรียนรู้วิธีการได้นิสัยคนสำเร็จมา ต้องการลงทุนก็ต้องศึกษาหาข้อมูล เรียนรู้จากช่องทางที่เราโฟกัสเรื่องราวเหล่านั้นเงินเกลื่นถนนคนออกจากบ้านไปใช้เงินหมดเราจะไปเก็บมายังไงต้องมองด้วยวิสัยทัศน์ เงินอยู่กับเราตามความสุขที่เรามี