ภาวะผู้นำกับเรื่องการเงิน EP.3

โดย Admin T
 วันที่ 24 ก.พ. 2565 เวลา 10:28 น.
 1438

สรุปการเสวนา 
FTC TALK EP35 : ภาวะผู้นำกับเรื่องการเงิน Part 3

          รายการ FTC Talk ประจำวันเสาร์ ที่ 19 กุมภาพันธ์  2565  ได้รับเกียรติจากนักธุรกิจแอมเวย์ระดับเพชรบริหาร คุณสาธิต  ดิษฐจร คณะกรรมการดำเนินการชุดที่ 18 ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้ ในหัวข้อ “ ภาวะผู้นำกับเรื่องการเงิน ”

          ภาวะผู้นำทางธุรกิจกับการเงิน
คุณสาธิต : ความสำเร็จหากเป็นแบบยั่งยืนและแวร เราจะประสบความสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อเราช่วยคนอื่นให้สำเร็จก่อน ในทางธุจกิจเราเป็นโค้ช เป็นที่ปรึกษาให้เขา และการเป็นตัวอย่างดี ต้องมีความสม่ำเสมอ และต่อเนื่อง เป็นสิ่งที่ดีในด้านธุรกิจ ส่วนในด้านการฝากออม การเก็บออมทุกๆเดือน พยายามจัดสรรค่าใช้จ่ายที่จำเป็นจริงๆ จะเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างชีวิต และเป็นแบบอย่างที่ดีแก่องค์กรเราด้วย เพราะตัวอย่างที่ดีมีค่ามากกว่าคำสอน


          จุดเปิดใจที่ได้เข้ามาทำงานใน FTC (ในฐานะคณะกรรมการ)
เมื่อก่อนมีคำถามในใจ ว่าที่นี้คืออะไร สหกรณ์ฯ คืออะไร ในช่วงแรกได้มองและติดตาม โชคดีที่มีภรรยาเข้ามาเป็นสมาชิกก่อน พอถึงจุดนึงที่เรามั่นใจว่าน่าจะไม่เหมือนสหกรณ์อื่น เลยลองเข้ามาสมัครเป็นสมาชิก และฝากเรื่อยๆ จนต่อมาได้มีผู้นำทางธุรกิจเชิญชวนให้ลองเข้ามาเป็นคณะกรรมการ และมีโอกาสเข้ามาเป็นกรรมการ เพื่อเป็นแบบอย่างให้องค์กรเรา เขาจะได้อุ่นใจด้วยที่มีเราเป็นตัวแทนในการบริหารและจัดการเรื่องการเงินให้เขา

   ในช่วงแรกสหกรณ์ฯ เรายังไม่ได้เป็นที่รู้จักและมีทิศทางต่างๆยังไม่ชัดเจน แต่ที่ชัดเจนคือความขาวสะอาด และความโปร่งใส ทั้งนี้เกิดจากภาวะผู้นำ ที่เรามีการศัทธาในแนวคิดของธุรกิจและสหกรณ์ฯ ซึ่งมีแนวคิดคล้ายๆกัน จึงทำให้การบริหาร FTC เป็นไปด้วยความโปร่งใสและขาวสะอาดจริงๆ
 

          ทำไมต้องวางแผนการเงิน
คุณสุวิทย์ : ถ้าองค์กรของนักธุรกิจมีความมั่นคงในด้านการเงิน ธุรกิจมักแข็งแรง ?
คุณสาธิต : ทุกคนเป็นผู้นำในองค์กร ไม่ว่าจะสำเร็จมากน้อยแค่ไหน จะเป็นระดับไหน ล้วนแต่ต้องมีคนตามเข้ามา  แต่หากการเงินของคุณไม่แข็งแรง ไม่มีการจัดการการเงินที่ดีพอ ใช้จ่ายเกินตัว ท้ายสุดแล้วธุรกิจไม่ได้เติบโต เพราะเราจะมัวแต่เอาเวลาคิดว่าจะหาเงินตรงไหนมาใช้หนี้ มาโปะส่วนนี้ ส่วนนั้น จะทำยังไงจะใช้หนี้ก้อนนี้ได้ก่อน องค์กรจะนิ่งๆ ต่อไปจะถอยหลัง แล้วท้ายสุดคุณอาจจะเลิกธุรกิจไปเลย นั้นแปลว่าคุณบริหารล้มเหลว
อุปนิสัยการใช้เงินจะทำให้เกิดปัญหาไม่ว่าจะได้มาเยอะแค่ไหน ถ้าเราไม่วางแผน เราก็จะไม่เหลืออยู่ดี


          ทำไมต้องมีนิสัยเก็บออม
คุณสาธิต : เริ่มเก็บออมจริงๆตอนมาเรียนในกรุงเทพฯ เป็นครั้งแรกที่ต้องบริหารเงินเอง เพราะได้เงินมาจากคุณแม่ 800 ต่อเดือน คิดง่ายๆใช้ได้วันละ 20 บาท เมื่อก่อนไม่มีแผนว่าจะเก็บไปเพื่ออะไร มีก็ใช้หมด ดูหนังทุกสัปดาห์ ไม่มีเป้าหมายในระยะยาวเลย แต่พอมีครอบครัว เริ่มมีวิสัยทัศน์ คิดถึงความมั่นคงระยะยาว เพราะเรามีคนในครอบครัวเพิ่มมากขึ้น ต้องดูแลคนในครอบครัวเราได้ แรกเริ่มเก็บ 5-10% ของรายได้ เมื่อก่อนฝากธนาคารดอกเบี้ยดีมาก แต่นั้นคืออดีต
จนค้นพบว่า จนถึงตอนนี้การเก็บอย่างเดียวไม่ได้แล้ว ดอกเบี้ยน้อยมาก เลยตั้งคำถามว่า ทำยังไงที่จะมีรายได้เพิ่มขึ้น และเป็นรายได้แบบยั่งยืน หากเราไม่อยู่ รายได้เหล่านี้ยังคงมีอยู่ เหมือนเป็นเงินเก็บออม เพราะเรากำลังสร้างอะไรบางอย่างที่จะหลอเลี้ยงเราได้ทุกเดือน


          สุดท้ายนี้เราจะอยู่รอดได้ในภาวะเศรษฐกิจได้ทุกสถานการณ์นั้น ก็ต่อเมื่อเรามี 3 ขา คือ 1.ขาเข้า เราควรที่จะหารายได้เพิ่มจากที่มีอยู่  2.ขาออก เราต้องประหยัดค่าใช้จ่ายโดยสามารถนำ 2 คาถาที่ให้มาใช้ได้โดยใช้จ่ายอย่างไรให้คุ้ม และขาสุดท้าย เราต้องมีวิสัยทัศน์ที่จะเก็บออมเงิน ไว้ใช้จ่ายในยามฉุกเฉิน นี้คือ 3 ขาที่จะทำให้เรามั่นคงและแข็งแรงต่อไป