การเงิน การลงทุนหลังวิกฤติโควิด-19 (Post Covid Financial Crisis)

โดย Admin A
 วันที่ 03 ธ.ค. 2564 เวลา 16:08 น.
 1476

สรุปบทความ FTC Channel
 

การเงิน การลงทุนหลังวิกฤติโควิด-19
(Post Covid Financial Crisis)
 

 

เช้าวันเสาร์ อากาศสดชื่นๆ แบบนี้ FTC Channel ชวนเพื่อนๆ มาพูดคุยกันในหัวข้อ “การเงิน การลงทุนหลังวิกฤติโควิด-19” จากผู้เชี่ยวชาญด้านการเงิน ดร.สุเมธา โพธิ์ประสาท ที่ปรึกษา FTC และอดีตผู้บริหารธนาคาร ดำเนินรายการโดย คุณธนภูมิ พันธุมสุต  กรรมการการศึกษา FTC และคุณรุ่งทิวา โคกแก้ว เจ้าหน้าที่ FTC สำนักบริการนครราชสีมา ร่วมพูดคุยถึงโอกาสและทางรอดหลังวิกฤติโควิด-19 ใครอยากพบทางรอดทางการเงินต้องไม่พลาด!

 

ช่วงแรก การดูแลสุขภาพการเงิน โดย ดร.สุเมธา

สุขภาพการเงินส่งผลต่อสุขภาพกายและจิตใจ มีคำกล่าวว่ามีเงินเยอะๆใช่ว่าจะมีความสุข แต่บทสรุปคือมีเงินเยอะยังไงก็มีความสุขมากกว่า มีเงินเยอะก็ดูแลสุขภาพกายได้มากกว่า การออกกำลังกายให้ร่างกายแข็งแรงเป็นการลงทุนที่ต่ำมาก อีกทางคือการใช้สารอาหารดูแลร่างกาย 

วันนี้เราคุยกันเรื่องวิกฤติโควิด-19  มันจบไม่ง่ายเลย ถ้าเราศึกษาจริงๆ ไวรัสและแบคทีเรียอยู่กับโลกเรามานาน อยู่คู่กับเราตลอดอยู่แล้ว แม้ NASA ออกไปนอกโลก ก็ไปหาสิ่งมีชีวิตซึ่งก็คือพวกสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กทั้งไวรัสและแบคทีเรียเหล่านี้ ดังนั้นอยู่ที่เราจะอยู่กับเขา เราต้องปรับตัวไปตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป

มารู้จักสหกรณ์สักเล็กน้อย สหกรณ์มีทั้งหมด 7 ระบบในระบบราชการไทย สหกรณ์ยูเนี่ยน คือการรวมตัวกันของคนที่มีพื้นฐานใกล้เคียงกัน เช่น กลุ่มคนที่มีอาชีพเดียวกัน ในประเทศมีสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนจดทะเบียนในระบบราว 1,000 กว่ายูเนี่ยน สมาชิกทั้งหมดราว 2 ล้านคน เราคือสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนฟรีเทรด ในกลุ่มของเราคือกลุ่มคนที่ทำธุรกิจขายตรง มีสมาชิกราว 10,000 คน 

     

 

ช่วงที่ 2 โอกาสใหม่ในวิกฤติ โดย ดร.สุเมธา

วันนี้ ผมได้รับหัวข้อมาแบ่งปันเรื่องโอกาสใหม่ในวิกฤติโควิด ในวิกฤติก็มีโอกาสอยู่ ในชีวิตจริงเราก็เจอวิกฤติจากเศรษฐกิจ การเมือง โรคภัยไข้เจ็บ และตัวผมเองก็เคยเจอวิกฤติหนักๆ ครั้งแรกจากการทำงานในปี 2540 มีการลดค่าเงินบาท ตอนนั้นผมเจอวิกฤติตอนที่เป็นผู้จัดการใหม่เพียงสองปี ตอนนั้นธนาคารเลย์ออฟพนักงาน เราตกงานก็คือวิกฤติของเรา ผมโชคดีได้เจอธุรกิจแอมเวย์พอดี ตอนนั้นผมก็ตั้งใจทำธุรกิจ และเป็นอะไหล่สำรองแรกๆ ในชีวิตของครอบครัวผม จนตอนนี้ธุรกิจแอมเวย์เป็นอาชีพหลักของครอบครัวผม งานธนาคารเป็นงานสำรองในชีวิตผม ผมตั้งใจทำแอมเวย์ 100% เจ้านายเคยถามผมว่าจะเลือกอะไรระหว่างแอมเวย์กับงานประจำที่ธนาคาร ผมบอกเลยว่าผมเลือกแอมเวย์ ผมถามกลับว่าอยากรู้มั้ยทำไมผมเลือกแอมเวย์ ผมก็เล่าแผนธุรกิจให้เจ้านายฟัง เขาก็สมัครและซื้อเครื่องกรองน้ำไป 2 เครื่อง แล้วหลังจากนั้นเขาก็ไม่ยุ่งกับผมอีกเลย เขาบอกผมโชคดีเขาไม่ได้โชคดีแบบผม ผมตั้งใจทำธุรกิจแอมเวย์ 3-4 ปี เป็นมรกตมีรายได้เฉลี่ยเดือนละแสนกว่าบาทจนถึงปัจจุบัน 

ในช่วงวิกฤติโควิด-19 หลายคนคงเจอวิกฤติจากงานประจำ งานที่ทำอยู่อาจจะดรอปลง เพราะกิจกรรมของบริษัทส่วนใหญ่จะลด fix cost ที่ง่ายที่สุดคือปลดพนักงานออก อย่างผมทำธนาคาร ก่อนโควิด 1 ปีทางธนาคารก็มีการปรับวิธีจ้างพนักงาน โดย ไม่จ้างพนักงานประจำมากเท่าเดิม จะรับพนักงานแบบ Gig เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงแบบนี้เราก็ต้องเปลี่ยนแปลงตาม

การจัดการของแต่ละธนาคารต่างกัน เช่น ธนาคารคอร์ปอเรทอย่างธนาคารกรุงเทพ ที่ปล่อยสินเชื่อรายใหญ่ธุรกิจเป็นหลักพันล้าน ธนาคารที่อิงกับหน่วยงานของรัฐบาล เช่นธนาคารกรุงไทย ธนาคารกสิกรไทยเป็นธนาคาร SME  ปล่อยสินเชื่อไม่เกินวงเงินร้อยล้าน ธุรกิจการค้าเหล่านี้ได้รับผลกระทบในช่วงวิกฤติเพราะถูกล็อกดาวน์ ร้านค้ารายย่อยถูกปิดหรือหยุดไป 3-4 เดือน หยุดกิจกรรมแต่ค่าน้ำค่าไฟค่าเช่าไม่หยุดด้วย ผลกระทบจะเยอะ การปล่อยสินเชื่อก็ระวังมากขึ้นความเสียหายก็เยอะ แต่ไทยพาณิชย์เป็น Retail Banking ที่ทำธุรกิจแบบ Universal เก็บตลาดทุกอย่าง ทั้งรายย่อยและคอร์ปปอเรท ดังนั้นธุรกิจรายย่อยได้รับผลกระทบเยอะ อย่างเพื่อนผมมีร้านอาหารปิดร้านไปแต่จ่ายค่าไฟ ค่าเชฟทุกเดือนๆ ละหลายหมื่น ทั้งที่ไม่มีการขายเกิดขึ้น นี่คือวิกฤติที่เกิดในช่วงโควิด

ในทุกวิกฤติมีโอกาสเสมอ ทุกวิกฤติมีทั้งคนจนและคนรวย อยู่ที่เราเลือก ผมฝั่งที่เรารอด เลือกฝ่ายความมั่งคั่งไว้ก่อน เราต้องปรับตัวเอง ขนาด SCB ดำเนินงานมา ๅ50 ปียังต้องเปลี่ยนเป็น SCBx เราเป็นคนตัวเล็กๆ ไม่ปรับเปลี่ยนได้อย่างไร 

โควิดเกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2019 ราวเดือนพ.ย. แต่ธนาคารเริ่มเตือนและปรับตัวตั้งแต่ช่วงต้นปี ให้มีการประชุมออนไลน์มากขึ้น วันหนึ่งผมต้องไปอบรมให้พนักงานบริษัทแห่งหนึ่งและในผู้อบรมมีคนติดโควิด ผมโทรแจ้งเจ้านาย ท่านผมบอกให้ผมไม่ต้องเข้าสำนักงานใหญ่และกักตัว 14 วัน ผมก็ไปอยู่คอนโดตั้งแต่วันนั้นผมไม่ได้ไปสำนักงานใหญ่อีกเลย และจากนั้นเดือนเม.ย.ก็ล็อกดาวน์ทั้งประเทศ ผมตัดสินใจปลดเกษียณตั้งแต่เดือนมิ.ย. ดังนั้นโควิดเกิดขึ้นมาสองปีแล้ว ใครยังอยู่กับความคิดเดิมๆ ผมว่าอยู่ลำบาก

 

ช่วงที่ 3 บทเรียนจากโควิด-19 โดย ดร.สุเมธา 

ช่วงที่ผ่านมาโควิดสอนอะไรเราบ้าง อย่างแรกสอนเรื่องการสร้างอาชีพเพิ่มขึ้น นี่เป็นจังหวะดีของคนแอมเวย์ หลายคนตกงาน หลายคนมองหาอาชีพเสริม อาชีพที่สองที่สาม เราสปอนเซอร์คนง่าย แม้ยอดซื้อสินค้าจะไม่เยอะ แต่พอเศรษฐกิจเริ่มกลับมาคนที่เราสปอนเซอร์ไว้เยอะๆ จะทำให้ธุรกิจเราเติบโตได้เร็ว แต่ช่วงวิกฤติคนที่ตัดสินใจแรง ก็สามารถประสบความสำเร็จได้ เพราะแอมเวย์ก็มีเพชรใหม่ทุกปี ใครที่ยังมีอาชีพเดียวต้องเปลี่ยนแปลงวิธีคิด เพราะผมทำหลายงานตั้งแต่อายุยังน้อย เราทำงานได้หลายงานเราแบ่งเวลาได้ ผมทำงานแบงค์ก็ 100% เป็นพ่อดูแลลูกก็100% ตามเวลาที่เราจัดการ ดังนั้นรายได้เราต้องเพิ่ม เราต้องเรียนรู้เพิ่ม ง่ายที่สุดคือคุยกับอัพไลน์ 

อย่างที่สองคือการวางแผนการเงิน ตั้งแต่สมัยเรียนผมจัดเงินบางส่วนเก็บออมไว้ ผมมีเศษเงินอะไรจะใส่กระปุกเสมอ เศษเงินที่ปกติเราให้ทิปในร้านอาหาร ผมเก็บมาครบปีได้ถึงสองหมื่นบาท เริ่มจากจัดการการเงินก่อน ใช้เงินให้เป็น เราได้เงินเดือนครั้งเดียวต่อเดือนแต่จ่าย 31 ครั้ง ดังนั้นเราต้องวางแผนจัดการให้ดี สามคือเรื่องการดูแลสุขภาพและสุขอนามัย ต้องเว้นระยะห่าง สี่เรียนรู้ทักษะเพิ่มเติมให้ตนเอง พัฒนาทักษะของตนเอง หาดูง่ายทางออนไลน์ เฟซบุค ยูทูบ และห้าเริ่มหาสถานที่ปลอดภัย เปลี่ยนมาทำกิจกรรมทางออนไลน์ ฝึกทำการตลาดออนไลน์ ทุกคนเปลี่ยนแปลงการทำกิจกรรมช่วงโควิด 

ถัดมาคือการสร้างภูมิคุ้มกัน ทุกวันนี้รัฐบาลให้เราฉีดวัคซีนฟรี เราต้องเอาไว้ก่อน ไม่ว่าจะช่วยได้มากหรือน้อยเราต้องป้องกันไว้ก่อน เพราะคุณหมอมีการวิเคราะห์วิจัยมาอย่างดี และอยู่ที่ตัวเราดูแลภูมิคุ้มกันตนเองด้วย เราต้องล้างมือ ใส่แมสก์ตลอดเวลา ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยดูแลเรื่องภูมิคุ้มกันคือ วิตามินซี ช่วยบรรเทาหวัดได้อยู่แล้ว Zinc ในกระเทียม และดับเบิ้ลเอ็กซ์ และ วิตามินดี 3 จะช่วยหักขนของไวรัสไม่ให้ไปติดกับเซลล์ นอกจากนี้ต้องออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ เว้นระยะห่าง ไม่เข้าไปรวมกลุ่มที่คนเยอะๆ เพราะสถานที่และกิจกรรมต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในเดือนหน้า (ธ.ค.) จะทำให้คนติดเชื้อได้มาก เราฉลองที่บ้านก็ได้ ไม่ต้องเดินทาง

ภาครัฐช่วยเหลือ แต่ช่วยได้ไม่มากเท่าไร ดังนั้นเราต้องหาเพิ่ม ใครที่เป็นหนี้ต้องไปเจรจาผ่อนปรน ขอลดดอกเบี้ย หากเราไม่คุยแบงค์กินตามน้ำ หากเราผ่อนบ้านสามสิบปี ขอลดดอกเบี้ยได้เพียง 50 สตางค์ เราร่นระยะเวลาการผ่อนได้ 6-7 ปี ดังนั้นสถาบันการเงินเราต้องเข้าไปเจรจา เพื่อปลดภาระหนี้

FORBS ทำสถิติว่าคนจะกลับไปทำงานที่บ้านถึง 79 ล้านคนในอเมริกา ทั้งทำธุรกิจที่บ้าน คนไทยเทียบสัดส่วนราว 10 ล้านคน หากคุณต้องการความสำเร็จในอาชีพที่ไร้กังวลคือแอมเวย์ รวมถึงการใช้แอพลิเคชั่นในการประชุมสื่อสารต่างๆ เราสามารถศึกษาเรียนรู้ได้ 

ถัดมาเรื่องอาชีพ Gig คืองานชั่วคราว อิสระ บริหารจัดการได้เอง เลือกงานได้เองจากความชอบ และความสุช ทำงานผ่านออนไลน์ เด็กวัยรุ่นหรือจบใหม่สมัยนี้มักมองหางานรูปแบบนี้ ธนาคารต่างๆ ก็ปรับตัวมารับพนักงานรูปแบบนี้ ไม่ต้องจ้างพนักงานประจำเยอะ สาขาธนาคารต่างๆ ก็มีพนักงานเพียงคนหรือสองคน ใช้ระบบออนไลน์ และแอปพลิเคชั่นต่างๆให้เก่ง การสร้างทักษะให้ตัวเองในยุคอาชีพ Gig ต้องเก่งเรื่องเทคโนโลยี และการลงทุนให้กับตัวเองเป็นการลงทุนที่ง่ายที่สุด เราเริ่มจากดูลิงค์แอมเวย์วันละหนึ่งลิงค์เป็นเวลาเก้าสิบวัน รับรองมายเซ็ทเราเปลี่ยน และสามารถก้าวสู่ธุรกิจที่สร้างความมั่งคั่งให้เราได้ 

ไม่ว่าจะเกิดวิกฤติอะไร ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน เราต้องอยู่ให้ได้ 

 

ช่วงที่ 4  บทเรียนจากชีวิตและการเลือกเส้นทางรอดก่อนโควิด-19 โดย ดร.สุเมธา

อดีตผมเคยทำงานธนาคาร ตำแหน่งสุดท้ายคือ Vice President ธนาคารไทยพาณิชย์ ทางครอบครัวทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ แฟรนไชส์ปึงหงี่เซียง ที่ปรึกษาของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนฟรีเทรด มูลนิธิเทียนฉาย และเป็นอาจารย์พิเศษที่ ม.มหาสารคาม สอนนักศึกษาใกล้จบเรื่องวิสาหกิจชุมชน 

ผมปลดเกษียณเมื่อปีที่แล้ว ผมทำธุรกิจแอมเวย์มา 20 ปี แอมเวย์กล้ารับประกันคุณภาพชีวิตผมมา 20 ปีแล้วครับ พอทำธุรกิจเป็นมรกตมา 3-4 ปีภรรยาก็ลาออกจากงานประจำมาดูแลคุณแม่และครอบครัว ได้คุณภาพชีวิต วันนี้ลูกทั้งสองคนก็มาทำธุรกิจด้วย ขอบคุณริชกับเจย์ ที่ทำให้เกิดธุรกิจและเรื่องราวดีๆ ที่ทำให้ทุกคนบนโลกได้มีคุณภาพชีวิตเป็นธุรกิจที่ให้อิสรภาพ ครอบครัว ความหวัง รางวัล ครอบครัวได้มากๆ เพราะเราทำเพื่อคนอื่น แต่เราได้เอง ผมทำธุรกิจแอมเวย์เพื่อมีมรดกตกทอดให้ลูกเพื่อวันข้างหน้าให้เขาไม่ต้องไปดิ้นรนต่อสู้กับสังคมแรงงานที่ต้องต่อสู้ในปัจจุบัน ขอบคุณผู้แนะนำที่มาชวนให้ผมใช้สินค้า และติดตามอยู่ 3-4 เดือน จากนั้นเมื่อเราเข้าใจธุรกิจก็ลงมือทำเอง เขาสอนผมอยู่ 3 วัน แล้วก็ดิ้นรนเอง ผมเริ่มทำโดยงูๆ ปลาๆ ผิดถูกไม่มีใครรู้เพราะคนที่ฟังเราบางทีเขาก็ไม่อยากฟังเรา 

ขอบคุณอาจารย์หมอวัชรา ที่ให้แนวคิดผมมาตลอดสิบกว่าปี ท่านเคยถามผมว่า ชีวิตคืออะไร? อาจารย์หมอสรุปว่าชีวิตคือความรู้สึกของตัวเรา ถ้าเรารู้สึกดีชีวิตเราก็ดี ถ้าเรารู้สึกแย่ชีวิตเราก็แย่ ถ้าเราเลือกความรู้สึกได้อย่าใช้ชีวิตด้วยความแย่ความทุกข์เศร้า ให้เรามี Growth mindset ก่อน และอยากสำเร็จให้คิดว่าเราสำเร็จไว้ก่อน คิดว่าเราเป็นเพชรให้ทำงานเยอะๆ สนุกๆ เหมือนเพชร เราก็จะประสบความสำเร็จ อีกคู่หนึ่งคือดร.วิทัต ดร.จินตนา พรจะเด็ด ผมเรียนรู้กับท่าน 5 ปี 60 ครั้ง ผมเคยถามอัพไลน์ว่าทำไมผมต้องทำแอมเวย์ ท่านบอกว่าผมไม่รู้ เพราะตอนนี้เป็นผู้จัดการธนาคาร ใครๆ ก็อยากเป็นนั่นเป็นแค่ความสำเร็จในงาน แต่ความสำเร็จในชีวิตผม ผมรู้ยังไม่มี 

ดร.วิทัต ถามผมสามคำถามเป็นคำถามเปลี่ยนชีวิต คำถามแรก งานที่เราทำเหนื่อยมั้ย? ผมตอบเลยว่าเหนื่อยเพราะทุกธุรกรรมที่เราทำไป การปล่อยสินเชื่อแต่ละครั้งเสี่ยงกับการติดคุก คำถามที่สอง เมื่อไหร่จะหยุดได้? ครั้งหนึ่งผมขับรถจะไปเยี่ยมดูแลคุณพ่อที่รพ. พอกลางทางเจ้านายโทรให้รีบกลับมาเพราะมีงานด่วน เราต้องคอยเขียนใบลาให้คนที่จ่ายเงินเดือนเราเพียงไม่กี่บาท แต่กลับไปดูแลคนที่ให้ชีวิตเราไม่ได้ นี่เป็นเรื่องเศร้าของชีวิต เพราะเขาจ้างเรา 24 ชม. 365 วัน ตามกฎหมายแรงงานคุ้มครองมีวันหยุดแต่เสาร์อาทิตย์ก็ต้องทำ เขาจะจ่าย OT หรือไม่ก็ได้  คำถามที่สาม ได้เท่าที่คิดหรือยัง? ตอบว่ายัง อยากได้คุณภาพชีวิตต้องใช้เงินอนาคต ผมต้องผ่อนบ้านผ่อนรถ แม้เป็นสวัสดิการทุกอย่างต้องเป็นหนี้เป็นสินหมด ซื้ออะไรก็ต้องผ่อน ดังนั้นมันไม่ได้เท่าที่คิด นั่นคือชีวิตเดิมๆ ของผม นี่คือคำถามที่ผมตัดสินใจทำธุรกิจแอมเวย์เมื่อ 20 ปีที่แล้ว เพราะอัพไลน์บอกคุณเหนื่อยแค่ประมาณ 1-2 ปีในธุรกิจนี้ พอตั้งใจทำ 3 ปีผมเป็นมรกต แฟนผมก็ลาออกจากงานประจำล่วงหน้าได้ 10 กว่าปี ที่สำคัญผมได้มากกว่าที่คิด ได้ทั้งเงิน ทั้งคุณภาพชีวิต ได้วิธีคิด ได้กัลยาณมิตรก็คุ้มแล้ว  

อัพไลน์บอกว่าต้องมาประชุม ถ้าคุณไม่ประชุม คุณก็ทำไม่ได้ No Meeting, No Amway ถ้าคุณมาเรียนกับผม เดือนละ1ครั้ง 12 เดือนถ้าคุณไม่เป็น DD ผมจะคืนเงินให้ผู้จัดการ 50,000 บาท ผมก็ไปเรียน เดือนถัดมาผมก็เป็น  21% ตั้งแต่เดือน ก.ย. 42 จนถึงวันนี้ผมเป็น  21% มา 20 กว่าปีแล้ว รับเงินจากแอมเวย์มามากกว่า  30 ล้าน เฉลี่ยเดือนละแสนกว่าบาท

เราลองเปรียบเทียบความเป็นลูกจ้างกับเจ้าของกิจการ ถ้าขายไอโฟนได้หนึ่งเครื่อง บริษัทจะได้ 3.34$ ต่อเครื่อง แต่ลูกจ้างจะได้ 0.00055$ ต่อเครื่อง ดังนั้นเป็นเถ้าแก่ดีกว่าเป็นลูกจ้างแน่ๆ เราสมัครธุรกิจแอมเวย์เราเป็นเจ้าของกิจการ เราไม่ใช่ลูกจ้างถ้าเราคิดว่าธุรกิจนี้พันล้าน เราก็ตั้งใจทำแบบพันล้าน ถ้าเราคิดว่าธุรกิจนี้ 450,000 เราก็ลงแรงแบบ 450,000 เรากำหนดได้ เราจัดตารางชีวิตได้ และเป็นธุรกิจท็อปอันดับหนึ่งของธุรกิจเครือข่าย และเป็นต้นแบบของธุรกิจ Network Marketing บริษัทแอมเวย์ไม่ได้อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ แต่ยอดขายสูงสุดปีที่แล้วมียอดขาย 8.5 พันล้านดอลล่าร์ ดังนั้นทรัพย์สินของธุรกิจแอมเวย์ใหญ่กว่าไทยพาณิชย์สามสิบเท่า มีสาขาทั่วโลกร้อยกว่าประเทศ ผมเลือกบริษัทใหญ่กว่าอยู่แล้ว

 

ช่วงที่ 5  มายเซ็ทการจัดการทางรอดด้านการเงิน โดย ดร.สุเมธา

ความทรงจำเรื่องเงินก่อนทำธุรกิจแอมเวย์ ผมกับแฟนเรียนการเงินการธนาคารทั้งคู่ เราเริ่มต้นชีวิตจากศูนย์ทั้งคู่ พ่อแม่ส่งเสียผมเรียนจบจากนั้นผมก็มีหน้าที่หาเอง ผมสตาร์ทเงินเดือน 3,500 โบนัส 6-7 เดือน ก็ถือว่าเยอะเมื่อสามสิบปีก่อน เริ่มสร้างเนื้อสร้างตัวเริ่มเก็บเงินเข้าบ้าน ผมโชคดีที่มีแฟนเก็บเงินเก่ง เป็นคนขยัน ทำทุกอย่างที่มีเงินเข้าบ้าน ผมถือว่ามีเงินเข้าบ้าน 5 บาทโดยสุจริต ดีกว่าเงินร่วงที่ถนนไม่มีคนเก็บ เขาทำธุรกิจค้าขายอะไรผมสนับสนุนหมด แฟนผมไปศึกษาธุรกิจแอมเวย์ก่อนผม เขาเปลี่ยนแปลงไป จากพูดไปเรื่อยๆ เป็นพูดเป็นเรื่องๆ มากขึ้น ผมตกใจมาก เพราะ 2-3 เดือนที่เขาตั้งใจเรียนรู้เขาเปลี่ยนไปมาก

อันดับแรก ชีวิตต้องวางแผน คนจนกับคนรวยต่างกันตรงที่คนรวยวางแผน มีความคิดที่แตกต่าง ผมคุยกับแฟนขอทำงาน 5 ปีค่อยแต่งงาน แต่งงา 2-3 ปีค่อยมีลูก และอีก 2 ปีค่อยมีบ้าน และวางแผนให้ลูกเกิดก่อน 15 เม.ย. ทุกคนจะได้ไม่ต้องเข้าเรียนช้าไปหนึ่งรุ่น ลูกผมเกิดช่วงม.ค-มี.ค. มีลูกควรห่างกัน 4 ปี เพราะเวลาเข้าเรียนปริญญาตรีเราจะได้ไม่เหนื่อยไม่หนักมาก ผมมีลูกแค่ 2 คน และวางแผนว่าวันหนึ่งลูกต้องไปเรียนต่างประเทศ เพราะที่ธนาคารเจ้านายท่านที่จบจากต่างประเทศกลับมาเป็นเจ้านายผมเลย แต่ผมต้องไต่เต้า 10 ปีถึงจะเป็นผู้จัดการ ผมคิดว่าวันข้างหน้านี่คือแต้มต่อของชีวิต ผมไม่ทำงานอย่างเดียว ไปเปิดโรงเรียนกวดวิชา ไปรับจ้างตรวจสอบบัญชี มีรายได้เพิ่มแต่พอเจอวิกฤติเศรษฐกิจทุกอย่างก็ตกหมด แอมเวย์ก็เข้ามาช่วงนั้นพอดี ผมดูแผนการตลาดสมัยนั้น ถ้าเป็นมรกตก็จะมีรายได้เดือนละ 50,000  ถ้าลูกเรียนต่อต่างประเทศต้องใช้เดือนละ 50,000 ตอนลูกกำลังเรียนมัธยมผมก็ลุยทำทุ่มเทเพื่อลูก นี่คือเงินที่เราจะใช้ลงทุนกับลูก ถ้าเราทำเพื่อลูกผมเต็มร้อยอยู่แล้ว เรายอมตายเพื่อลูกอยู่แล้ว แค่ออกไปเจอคนปฏิเสธเราไม่ถึงตาย ทำให้ผมกล้าออกไปชวนคน เราเริ่มทำแอมเวย์แรกๆ ก็กลัวเพื่อนไม่รักเพื่อนนินทา ผมก็ตัดสินใจทำ 3 ปีแรกก็เป็นมรกต รายได้ก็แตะ 50,000  ผมส่งลูกคนแรกเรียนต่างประเทศเกือบ 6 ปีใช้เงินเกือบ 10 ล้านเป็นเงินจากแอมเวย์ทั้งหมด ดังนั้นเราวางแผนไว้หมดว่าเราต้องทำงานนี้ให้จบ 

ผมไม่ได้ดูถูกงานประจำ งานประจำเป็นงานยังชีพผมได้ แต่ตอนขอวีซ่าแคนาดา ผมยื่นเอกสารการเงินด้วยเงินเดือนของแฟนผมที่เป็นข้าราชการและสเตทเมนท์เงินเดือนของผมที่ธนาคาร ตอนไปสัมภาษณ์ขอวีซ่านร.ที่สถานทูตแคนาดา ถูกถามว่าเงินเดือนแค่นี้จะมีปัญญาส่งลูกเรียนต่างประเทศเหรอ ปรากฏว่าไม่ผ่าน รอบสองผมเอาจดหมายรับรองรายได้จากบริษัทแอมเวย์ และนำหนังสือจดทะเบียนบริษัทห้างหุ้นส่วนจำกัดที่จดเป็นคู่ค้ากับแอมเวย์มายื่น ปรากฏว่าผ่าน คนสอบสัมภาษณ์บอกว่าทำไมคุณไม่เอารายได้นี้มายื่นแต่แรก ถ้ายื่นแต่แรกก็ผ่านแล้ว งานประจำเทียบกับแอมเวย์ แอมเวย์ให้อะไรกับชีวิตผมเยอะมาก เพราะรายได้แอมเวย์ทำให้ลูกผมไปเรียนต่างประเทศได้ แต่รายได้ธนาคารไม่สามารถอนุมัติวีซ่าให้ลูกผมได้ ผมพิสูจน์ด้วยตัวผมเอง 

หน้าที่กับความรับผิดชอบสร้างครอบครัวเป็นของหัวหน้าครอบครัว วันที่ผมฟังแผนธุรกิจผมทุ่มเทกับแอมเวย์เต็มที่ เพราะผมรู้ว่าแอมเวย์ตอบโจทย์ผมได้ ความกลัวหายไปหมดเลย และแอมเวย์เป็นสัมมาอาชีพ เป็นอาชีพที่สุจริตมาก การช่วยเหลือคนอื่นให้ประสบความสำเร็จก่อนเราจึงจะประสบความสำเร็จ เราต้องช่วยเขาให้เป็น6% 9% และต้องพัฒนาคนขึ้นมาเป็นแพลทตินั่ม ครอบครัวเขาต้องดีขึ้น ผมคิดว่าคนที่ผมสปอนเซอร์ทุกคนเป็นเพชร มีรายได้ 3-4 แสนได้ เวลาผมสปอนเซอร์คือการที่ผมเอาโอกาสดีๆ ไปให้เขา ไม่ได้ไปขอโอกาสเขา ดังนั้นการให้ของเราเราไม่ได้แบมือขอใคร ไม่ได้คว่ำมือให้ใคร แต่เรานั่งลงคุกเข่ากับพื้นและยกแอมเวย์ด้วยมือสองมือถวายให้เขา นี่คือการให้แบบปิติสุข ให้แบบบริสุทธิ์ ผมเรียนรู้สิ่งนี้จากอาจารย์หมอวัชราตอนที่ไปมูลนิธิฉือจี้ ที่เขายกนำ้ชาให้เรา ผมคิดว่าถ้าเรามอบธุรกิจแอมเวย์ให้ผู้คนแบบนี้ ด้วยความบริสุทธิ์ใจของเรา เราไม่ต้องกลัวไม่ต้องอาย และถ้าเขารับไว้คือคุณภาพชีวิตของเขาในอนาคตแน่นอน นี่คือสิ่งที่ผมทำในธุรกิจนี้ 

ฐานเดิมผมมาจากความยากจนเป็นหนี้เป็นสิน ผมก็เปลี่ยนมายเซ็ท ผมศึกษาหาความรู้หาโอกาสให้ตัวเองตลอดเวลา คนบางคนจนเพราะความคิด จนด้วยโอกาส มีคนนำโอกาสมาให้ถึงบ้านก็ไม่รับโอกาส ผมก็เคยรับธุรกิจแอมเวย์ตอนครั้งแรก เมื่อปี 2533 แต่ไม่ได้ตัดสินใจเรียนรู้และทำตอนนั้น เพราะตอนนั้นผมตั้งใจที่จะเป็นผู้จัดการธนาคาร ยังบอกว่าถ้าผมเป็นผู้จัดการแล้วค่อยมาชวนผม พอเป็นผู้จัดการได้ปีกว่าๆ ผมก็เริ่มหาโอกาส เพื่อนก็มาแนะนำธุรกิจผม ผมก็สมัครช่วยเพื่อนผมซื้อสินค้า 6,000 บาท เราช่วยเหลือแบ่งปันกัน แต่การช่วยเพื่อนครั้งนั้นผมได้สิ่งตอนแทนกลับมาแบบมหาศาล 

ผมเริ่มต้นธุรกิจแอมเวย์วันที่ 27 ธันวาคม 41  ตัดสินใจทำธุรกิจตอนมิถุนายน 42  เดือน กันยายนก็ขึ้น 21% และ 4 ปีถัดมาผมก็เป็นมรกตด้วยการใช้เครื่องกรองน้ำ  ผมเคยเจอวิกฤติในธุรกิจครั้งหนึ่งช่วงแรกๆ เพราะเพื่อนไล่ผมออกจากบ้าน ผมจะเลิกทำแอมเวย์ แต่แฟนบอกว่าถ้าเลิกแอมเวย์เราไม่ต้องคบกัน ทำให้ผมได้กลับมาคิด ตกผลึกกับแอมเวย์อย่างจริงจังว่าเราจะอยู่กับธุรกิจนี้ได้อย่างไร ผมเคยเขียนแผนการตลาดให้ลูกค้าแต่ไม่เคยเขียนแผนการตลาดกลับมาดูแลครอบครัวตัวเอง ผมเคยดูแลงบการเงินให้ลูกค้า แต่ผมไม่เคยได้ทำงบการเงินส่วนตัวให้ตัวเองเลย ผมกลับมาคุยเรื่องเงิน เรื่องงาน เรื่องครอบครัว และเรื่องส่วนตัว ผมนำคำถามที่อัพไลน์ถามสามคำถามมาเทียบดูกับแผนการตลาดแอมเวย์ และ อยากให้ทุกคนทำงบการเงินส่วนตัว งบการเงินมีสองแบบทำงบดุล(สินทรัพย์ = หนี้สิน + ทุน) และงบการเงิน ตอนก่อนทำแอมเวย์ ผมมีหนี้สินมากว่าทุน ผมเลยต้องกู้เงินไปซื้อทรัพย์สิน

 

การเป็นลูกจ้างจริงๆ เราไม่ได้ถูกจ้าง แต่เราจ้างตัวเองไปทำงานให้เค้า ลองศึกษาดีๆ ผมไม่ได้ถูกซื้อตัวเพื่อไปทำงานที่ธนาคารไทยพาณิชย์ ผมเดินไปของานเค้าและผมลงทุนก่อน 30 วัน จ่ายค่าเดินทางค่ากินค่าเสื้อผ้าไปทำงานให้เค้าก่อน ต้องซื้อรถยนต์ขับไปทำงานให้เค้า พอสิ้นเดือนค่อยรับเงินเดือน แต่ถ้าเค้าจ้างเราทำงานคือเค้าต้องให้เงินเราสองล้าน มีรถยนต์ให้หนึ่งคัน มีบ้านให้หนึ่งหลัง แต่นี่เขาได้ประโยชน์ได้กำไรจากชีวิตเราก่อนล่วงหน้า 30 วัน แล้วจึงจ่ายเศษเงินมาให้เรา แต่เราไปลงทุนให้เขาเต็มที่ นี่คือความเจ็บปวดที่เราตกผลึกความคิดจากการทำงาน ดังนั้นเงินกับงานเราต้องเปลี่ยนมายเซ็ทใหม่ เด็กรุ่นใหม่เรียนรู้ได้เร็ว เขาเลยไม่อยากเป็นลูกจ้างคนอื่น  ผมได้ข้อมูลตรงนี้งานมันไม่ตอบโจทย์ 

เรื่องส่วนตัวเรื่องครอบครัว ตอนนั้นที่ผมทำงานก็ยังไม่สามารถดูแลพ่อแม่ได้ ท่านเป็นข้าราชการ พอเกษียณก็มีบำนาญ ท่านต้องคอยเป็นห่วงใย ถามผมเรื่องบ้านและอยากช่วยผม ผมไม่อยากได้ ทุกครั้งที่เจอก็ให้เงินแม่ และแม่ผมก็สมัครแอมเวย์ เข้าใจธุรกิจว่าแอมเวย์ดีอย่างไร

กลับมาคุยเรื่องตัวเอง เราต้องกลับมา SWOT ตัวเอง เราหาจุดแข็งว่าเรามีจุดแข็งอะไร จุดอ่อนมีอะไรบ้าง ถ้าเราเข้าใจจุดอ่อนตัวเองเราจะพัฒนาได้ เรามีโอกาสอะไรบ้างลองศึกษาเรียนรู้ดู มีอุปสรรคในชีวิตอะไรบ้าง เขียนมันออกมา และเอาแอมเวย์เข้ามา จากนั้นก็ลุย เราเป็นคนแบบไหน เราเจอโควิดแล้วเราค่อยลุย หรือเราเตรียมตัวก่อนวิกฤติเป็นวิสัยทัศน์ของชีวิต 

การมี Growth Mindset และการตั้งเป้าหมายชีวิต อาจารย์หมอสอนผมว่า เราต้องมีเป้าหมายชีวิต ลองตั้งดูในอีก 5 ปีข้างหน้า ผมต้องมีเงินที่นอกเหนือรายได้งานประจำ 10 ล้านบาท พอตั้งเป้าหมายผมเขียนเช็คให้ตัวเองแล้วใส่กระเป๋าไว้เลย ทำให้เราเห็นเช็คใบนี้แล้วคิดๆๆ ว่าทำอะไรดีที่เราจะมีเงินนี้ ทำแอมเวย์เป็นเพชรบริหารได้แน่ๆ หรือหาอะไรทำเพิ่ม ทำบ้านจัดสรร เมื่อครบ 5 ปีผมกลับมาดูงบการเงิน ผมก็มีทรัพย์สิน 16 ล้าน ขอบคุณคุณหมอวัชรา ที่ทำให้ผมมีเงิน 10 ล้านแรกได้ จากนั้นผมก็เริ่มทำธุรกิจบ้านจัดสรรจริงจัง 

 

ช่วงที่ 6 ความสำเร็จในชีวิตจากการเลือกโอกาสที่ถูกต้อง โดย ดร.สุเมธา 

ความสำเร็จในชีวิต คุณภาพชีวิต 7 ประการแรก คือ เรื่องการเงิน สุขภาพ ความยุติธรรม ครอบครัว เพื่อน ชื่อเสียงการยอมรับ และอิสรภาพทางด้านการเงินและเวลา นี่คือรายได้หลังจากเดือนแรกเดือนกรกฎาคมที่ผมเกษียณจากธนาคาร ผู้จัดการทุกคนที่เกษียณจากธนาคารรายได้เป็นศูนย์ทุกคน แต่วันที่ 1 ก.ค. 63 ผมยังมีรายได้จากแอมเวย์แสนกว่าบาท พอปี 64 ยังมีรายได้แสนกว่าบาทอยู่ ผมมีรายได้แบบนี้มา 20 กว่าปีจากธุรกิจแอมเวย์ นี่ไม่ใช้การโอ้อวดแต่คือสิ่งที่ทุกคนทำได้ หาคนให้เจอ 3 คนก็เป็นมรกต และการจะมีรายได้แสนกว่าบาทจากงานประจำ ต้องใช้เวลาเป็น 15-20 ปี แต่ในธุรกิจแอมเวย์ทำ 3-4 ปีรายได้ก็แตะหลักแสนได้ การเรียนรู้ต่างกันมาก ผมเป็นผู้จัดการธนาคารที่คิดนอกกรอบ 

ครอบครัวเราก็มีความสุขในการทำธุรกิจแอมเวย์ ลูกสาวผมกลับจากต่างประเทศมาทำแอมเวย์เดือนแรกก็เป็นทับทิม ลูกผมจบเชฟจากแคนาดา มีรายได้แสนกว่าบาทที่แคนาดาแต่เหนื่อยก็หยุดไม่ได้ ลาออกจากงานประจำมาทำแอมเวย์ แต่ทำธุรกิจแอมเวย์สำเร็จเราหยุดได้ ตอนทำงานธนาคารผมเตรียมไว้ว่า เราเกษียณเราจะใช้จ่ายเดือนละเท่าไหร่ ผมจัดสรรเงินส่วนหนึ่งให้พี่สาวที่มาเลี้ยงลูกชายคนเล็กผม เขาไม่อยากเป็นภาระเรา เขาเลยไปดูบ้านผู้สูงวัย ค่าใช้จ่ายเดือนละ 15,000 บาทเราจ่ายให้เขา 

งานแอมเวย์ เราต้องเรียนรู้คน ใช้ความคิดกับการอ่านใจคนให้เป็น วิชามนุษย์ต้องเรียนรู้ ง่ายที่สุดคือคบกัลยาณมิตร คุยกับคนรวยเราจะเป็นคนรวยอีกหนึ่งคน คุยกับเพชรเราจะเป็นเพชรเพิ่มอีกหนึ่งคน เราต้องมีเป้าหมายเขียนออกมา อยากมีเงินเท่าไร เมื่อไร และมีแผนงานกำหนดกิจกรรมทั้งหมดระยะเวลา ลงมือทำแบบที่เรากินข้าว เหมือนทำงานประจำทำทุกวัน และสุดท้ายตาปลาใหญ่กว่าสมอง ยังหากินได้หลายช่องทาง กระโดดฮุบเหยื่อกลางอากาศได้ แต่คนเรามีสมองใหญ่กว่าดวงตา เราต้องเลือกทำมากกว่าหนึ่งอาชีพ สร้างเครื่องมือเพิ่มขึ้นมา อย่ารอเจอวิกฤติ และถ้ามีเงินเหลือนำมาฝากที่ FTC สหกรณ์เรามีผู้มีเงิน มีความรู้ มีคุณธรรม มีคุณภาพ      

 

ของฝากจาก FTC โครงการเพื่อนชวนเพื่อน โดย คุณอิ๋ว รุ่งทิวา

    ฝากโครงการเพื่อนชวนเพื่อน ชวนเพื่อนสมัครสมาชิก FTC ครบสามคนจะมอบหุ้นพิเศษให้ผู้แนะนำ รายละเอียดสามารถแอดไลน์มาสอบถามได้ทาง @freetrade 

หากสมาชิกท่านใดอยากฟังข้อมูลวันนี้ซ้ำ สามารถเข้าฟังทางยูทูบ Freetrade Official และ เฟสบุคแฟนเพจ FTC

 

ช่วงท้าย ตกผลึกความคิดจากผู้รู้

วันนี้เราได้รับฟังแนวคิดและแรงบันดาลใจจากประสบการณ์ชีวิตอันล้ำค่าของ ดร.สุเมธา เชื่อว่าเพื่อนๆ จะได้รับมุมมองความคิดดีๆ มาปรับใช้ในการดำเนินชีวิตหลังยุคโควิด-19 ก่อนจากกันแอดขอสรุปแนวคิดดีๆ ในการเลือกโอกาสทางการเงิน และการลงทุนเพื่อสร้างทางรอดหลังยุควิกฤติโควิด-19 ดังนี้

  1. สร้างภูมิคุ้มกันทางการเงินให้แข็งแกร่ง โดยการเพิ่มรายได้หลายทาง จัดสรรวางแผนการเงินให้ดีรอบด้าน

  2. สร้างภูมิคุ้มกันทางความคิด มี Growth Mindset ทบทวนตกผลึกความคิดกับตนเอง ลองทำ SWOT ตัวเอง เพื่อค้นหาแนวทางการพัฒนาตนเองในทุกมิติ 

  3. ลงทุนในตัวเอง ศึกษาเพิ่มในเรื่องที่สนใจ และเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ เพื่อย่นย่อเวลาและสร้างช่องทางในการทำธุรกิจ

  4. สร้างโอกาสใหม่ๆ ในวิกฤติ มองหาโอกาสทำธุรกิจส่วนตัวหรือการลงทุนที่ทำควบคู่งานประจำได้


เพื่อนๆ อย่าลืมติดตามความรู้ดีๆ จากผู้รอบรู้ทางการเงินและการลงทุนได้ทาง  FTC Channel ทุกวันเสาร์เวลา 10.00-11.00 น.