วิกฤตกับโอกาส...บอกไม่ได้ว่าจะมาเมื่อไร...

โดย Admin T
 วันที่ 27 ต.ค. 2564 เวลา 10:25 น.
 1587

สรุปบทความ FTC Channel

วิกฤตกับโอกาส...บอกไม่ได้ว่าจะมาเมื่อไร... 

 

เช้าวันเสาร์แบบนี้ FTC Channel ชวนเพื่อนๆ มาเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงของวิทยากรรับเชิญ คุณภุชงค์ วัชรปิยานันทน์ รองประธานกรรมการ FTC และอดีตวิศวกรคอมพิวเตอร์  ที่จะมาแบ่งปันในหัวข้อ “วิกฤติกับโอกาส..บอกไม่ได้ว่าจะมาเมื่อไร” พร้อมเสริมความแข็งแกร่งทางความคิดจากผู้รอบรู้ด้านการเงินอย่าง นพ.วัชรา ทรัพย์สุวรรณ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ FTC ดำเนินรายการโดย คุณสุวิทย์ พูลสุขเลิศ ประธานคณะกรรมการศึกษา FTC และคุณสายสุณี บัวทอง เจ้าหน้าที่ FTC สำนักบริการภูเก็ต ร่วมแบ่งปันประสบการณ์มองวิกฤติและโอกาส ที่ทุกคนควรเตรียมพร้อมก่อนมาถึง

 

ช่วงแรก ลับคมความคิดซ้อมรับวิกฤตในชีวิต โดย นพ.วัชรา

คำว่า  Disruption การเปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหันเป็นสิ่งที่มาคู่กับโลก แต่สาเหตุของปัญหาอาจเปลี่ยนไปตามยุคสมัย ในฐานะที่ผมอบรมบ่มนิสัยจากโรงเรียนแพทย์ ผมได้เห็นภาพการเกิด แก่ เจ็บ ตาย ในชีวิตประจำวัน โรงพยาบาลเหมือนเป็นมหาวิหารที่ทำให้ผมตระหนักตลอดเวลาว่าเราไม่สามารถประมาทได้ การเปลี่ยนแปลงที่เราไม่ชอบอาจเกิดขึ้นได้ทุกขณะ และไม่ควรเอาความมั่นคงมาแขวนอยู่ที่ตัวผมคนเดียว พยายามหาทางออกของสวัสดิภาพของครอบครัว หากทำอาชีพแพทย์อย่างเดียว รายได้ 80% ของครอบครัวขึ้นกับผม ก็พอมาเจอธุรกิจแอมเวย์ผมคิดว่านี่คือการกระจายความเสี่ยง การเติบโตในธุรกิจไม่ได้เกิดจากเราคนเดียว ยิ่งเราเจอคนที่เก่งกว่าเราเท่าไรก็ยิ่งดี ทำให้ผมสำเร็จเป็นมรกต เพชร เพชรบริหาร เพชรคู่ และตรีเพชร แม้จะประสบความสำเร็จในธุรกิจแอมเวย์ มีรายได้ Passive Income จากธุรกิจแอมเวย์จำนวนไม่น้อย แต่ผมไม่ได้วางใจ ผมเรียนรู้การใช้จ่ายอย่างระมัดระวังและเก็บออมอยู่เสมอ และชวนเพื่อนฝูงที่มองเห็นทางเดียวกันมาเก็บออมด้วยกัน เพื่อให้เรารอดไปด้วยกัน คนทำแอมเวย์หลายคนไม่มีสวัสดิการ เราต้องการอะไรเราควรสร้างขึ้นมาเอง จนกลายเป็น FTC ที่ทุกวันนี้ก็มีสมาชิกเป็นหมื่นคน  

ในสายตาคนทั่วไป คนที่เป็นเพชรเป็นตรีเพชรอาจไม่มีความเสี่ยงอะไร แต่เราต้องไม่ประมาท เพราะวิกฤตมาเมื่อไรเราไม่มีสิทธิ์เลือก เราควรต้องซ้อมรับวิกฤติบ้าง ทำให้ผมยังคงกลับไปหัดเดินทางด้วยการนั่งรถเมล์บ้าง รถไฟฟ้าบ้าง กินข้าวแกงข้างทางบ้าง การเตรียมใจซ้อมรับวิกฤติไว้บ้างเป็นเรื่องที่สำคัญมาก 

อีกปัญหาที่สำคัญคือระบบการศึกษาไทยเพราะคนในปัจจุบันหาความรู้จากแหล่งอื่นได้ เมื่อหลายสัปดาห์ก่อน ได้ข่าวว่าโรงเรียนอำนวยศิลป์ ธนบุรึต้องปิดตัวลง อีกหลายพันโรงเรียนและมหาวิทยาลัยหลายแห่งกำลังจะปิดตัว ผมมีมูลนิธิเทียนฉายที่ดูแลด้านระบบการศึกษา ก็มองเห็นถึงปัญหานี้มาหลายปี แม้แต่เด็กในโรงเรียนรัฐบาลก็ลดน้อยลง คนที่ทำอาชีพด้านการศึกษาอาจต้องเตรียมหางานอื่น เราต้องเพิ่มพูนทักษะใหม่ๆ  สำหรับรักษาสวัสดิภาพของตัวเองและครอบครัว

สมมติหากผมจะรับพนักงานใหม่ผมจะถามว่าคุณจบอะไร ได้เกรดเท่าไร และที่สำคัญคุณทำอะไรเป็นบ้าง เพราะทักษะใหม่ๆ ด้านคอมพิวเตอร์ เป็นทักษะพื้นฐานที่จะต่อยอดไปสู่เทคโนโลยีใหม่ๆ ฉะนั้นอย่าอยู่ด้วยความประมาท 

คุณอาจต้องทำตัวเหมือนตอนที่ผมซื้อรถยนต์ใหม่ ใช้ไปสองปีทางบริษัทรถยนต์เรียกให้นำรถเข้าไปอัพเดทซอฟท์แวร์ใหม่ ดังนั้นเราต้องนำความคิดความรู้ที่เคยเรียนมาเมื่อสิบปีก่อนมาอัพเดทใหม่ การศึกษาตลอดชีวิตจะทำให้เราอยู่รอดได้  

 

ช่วงที่ 2 วิกฤตชีวิตมาเร็วกว่าที่คิด โดย คุณโป้ง ภุชงค์

วิกฤติไม่บอกว่ามาตอนไหน ผมได้รับโอกาสที่จะรู้จัก FTC ผ่านท่านประธานผู้ก่อตั้ง คุณหมอวัชรา ทรัพย์สุวรรณ ที่แนะนำแนวทางการทำธุรกิจ แนวทางการใช้ชีวิต การสร้างครอบครัว และการเงินผ่านทาง FTC 

วันนี้ผมขอเล่าประสบการณ์ที่ได้เข้ามาร่วมกับ FTC และธุรกิจแอมเวย์ ผมจบวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และมีโอกาสเรียนปริญญาโทด้านแพทย์บูรณาการ และเป็นเพชรในธุรกิจแอมเวย์ ประเทศไทย ในอดีตเคยเปิดบริษัทซอฟท์แวร์ ช่วงเข้ามหาวิทยาลัยปี 2540  เจอวิกฤติพอดี ที่บ้านทำธุรกิจขายของเล่นที่ตลาดกิมหยง บ้านเราเคยมีฐานะดีพอควร แต่พอเจอวิกฤติปี 40 ต้องเลิกกิจการไป ช่วงมหาวิทยาลัยผมต้องทำงานไปด้วยเรียนไปด้วย หุ้นทำบริษัทกับเพื่อน และรับงานเขียนซอฟท์แวร์ของมหาวิทยาลัย เล่นดนตรีที่ร้านอาหารตอนกลางคืน เพื่อมีรายได้พิเศษ ให้ที่บ้านส่งเงินเล็กน้อย และกู้กยศ. 

พอจบมาต้องสอบใบประกาศนียบัตรต่างๆ ของวิศวกรคอมพิวเตอร์ เพราะรายได้ของเรามาจากการได้  certificate เหล่านี้ ชีวิตของผม เป็นนักวิจัยด้านซอฟท์แวร์ ทำวิจัยด้านเทคโนโลยีใหม่ๆ ผมไม่ได้เกรดสูงแค่เรียนพอจบ แต่ผมส่งผลงานการทำงานในช่วงเรียน จึงได้เข้าทำงานในบริษัทระดับประเทศ ผมขยันทำงานมาก ทำงานแค่ 14 วันผมได้รับมอบกุญแจออฟฟิศ รู้สึกภูมิใจที่เป็นคนเปิดออฟฟิศและปิดออฟฟิศ ตอนอายุ 22-23 ตั้งใจและบ้างานมาก ผมคิดว่างานนี้ดีและจะทำให้เรามีชีวิตที่ดีได้ แต่ตอนปรับเงินเดือนขึ้นแค่พันกว่า บาทผมโกรธมากและรู้สึกว่าแนวทางนี้ไม่ใช่แล้ว เราต้องรับผิดชอบเพราะมีภาระมาก ต้องส่งแม่ ส่งน้องเรียน พออายุ 24 มีโอกาสเปิดบริษัทซอฟท์แวร์เล็กๆ ของตัวเองกับพี่ที่ออฟฟิศ ผมไม่มีทุน แต่ใช้วิธีเขียนแผนการตลาดให้คนมาลงทุนทำบริษัท จากบริษัทเล็กๆ โปรแกรมเมอร์เพียง 4 คนกลายเป็น 10 คน และสมัยนั้น AIS ต้องการพัฒนาระบบที่ส่งข้อความ SMS จากคอมพิวเตอร์สู่โทรศัพท์มือถือหลายๆ เครื่องพร้อมกัน จากนั้นเลยได้เปิดบริษัทอีกบริษัทชื่อ Intelsys เพื่อทำ outsource ด้านนี้ ผมหลงระเริงมาก และเริ่มมีปัญหาสุขภาพ เนื่องจากทำงานหนักใช้ชีวิตหนัก 

 

ผมมองว่าตอนนั้นชีวิตผมก็ไปได้ดีแต่ไม่มีเงินเก็บ พอมาทำบริษัทเอง เราต้องนำเงินกำไรทุกบาททุกสตางค์มาหมุนในธุรกิจ เงินทุนจดทะเบียนบริษัทเราไม่เยอะแค่ 3-4 ล้านบาท ไม่สามารถรับงานโปรเจคขนาดใหญ่ได้ ดังนั้นเงินทุกบาททุกสตางค์ต้องเก็บไว้หมุนในบริษัท เงินเดือนผมน้อยมากๆ และผมยังรับปากผู้ถือหุ้นว่าจะคืนปันผลปีละ 10% แต่ก็มีอีโก้ว่าเราเก๋าเราเจ็ง ผมได้รู้จักแอมเวย์ เพราะแฟนผมได้รับการแนะนำจากเพื่อน เขาเริ่มเข้ามาในธุรกิจ และตั้งใจทำมาก จนเวลาที่จะได้ใช้เวลาด้วยกันในวันอาทิตย์ไม่มี ผมชอบดูหนังมาก แต่ตั้งแต่เขาทำแอมเวย์เขาไม่มีเวลาให้ผม ผมคิดว่าหากเขาอยากได้รายได้เสริม ทำไมไม่ทำบริษัทของตัวเองไปทำให้แอมเวย์ทำไม ผมโกรธเพราะไม่เข้าใจ และเริ่มชวนทะเลาะ คุณเงาะแฟนผมบอกว่า แอมเวย์คือธุรกิจส่วนตัว ทำแล้ววันหนึ่งหยุดทำแล้วมีรายได้ วิศวกรอย่างผมไม่เข้าใจ ผมรู้สึกว่าขนาดทำบริษัทเองยังเป็นการทำงานแบบไม่มีสิ้นสุด แล้วแอมเวย์ทำแล้วหยุดได้จะเป็นไปได้หรือ ผมทะเลาะกับเขาแต่อยากรู้ จึงตามไปดูว่าสิ่งที่เขาพูดจริงไม่จริง ดีไม่ดี ได้ไปเจอพี่ตั้มวรกร เป็นผู้จัดการที่บริษัทซิลวาเนีย ก่อนหน้านั้นพี่ตั้มอยู่ฟิลลิปส์ และพอถูกซื้อตัวไปอยู่ซิลวาเนียแค่ปีครึ่งก็ทำยอดขายแซงฟิลิปส์ได้ ผมชื่นชมและอยากเป็นแบบพี่เขา จึงถามพี่ตั้มว่าทำไมทำแอมเวย์? แอมเวย์ดีจริงหรือ? เขาถามว่าคุณมีความฝันอะไร ผมก็คุยโม้แบบวิศวกรทั่วไป ว่าผมเปิดบริษัทสองบริษัทแล้ว และเตรียมจะเปิดบริษัทที่สาม แต่พี่ตั้มบอกว่านี่ไม่ใช่เป้าหมายชีวิตเลย ผมจึงถามกลับไปว่า เป้าหมายชีวิตพี่คืออะไร พี่ตั้มตอบว่า พี่อยากตื่นกี่โมงก็ได้ นอนกี่โมงก็ได้ เวลาแม่อยากไปทำบุญพี่สามารถพาแม่ไปวัดเมื่อไรก็ได้ อยากไปนั่งดูพระจันทร์ จิบเบียร์ที่ไหนเมื่อไหร่ก็ได้ เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมาพี่ไปยื่นใบลาออกที่ซิลวาเนียแล้ว ลองคิดดูแล้วกันว่าแอมเวย์มั่นคงจริงมั้ยทำแล้วได้จริงมั้ย ผมจึงคิดว่ารายได้จากแอมเวย์คงได้จริง ไม่งั้นคนระดับนี้คงไม่มาทำ และได้ฟังเทปซีดีจากหลายท่านที่หน้าที่การงานดีกว่าผม เขายังเปิดรับโอกาส เราเป็นคนธรรมดาเราจึงเปิดรับโอกาสไว้ 

ก่อนหน้าที่ผมจะไปฟังธุรกิจ ผมชวนคุณเงาะเลิกแอมเวย์ตลอด แต่เขาให้ผมสัญญาสองข้อถ้าสัญญาได้เขาจะเลิกแอมเวย์ ข้อแรกสัญญาได้มั้ยว่าจะรักเขาคนเดียว และข้อสองสัญญาได้มั้ยว่าจะไม่ตายก่อน ข้อแรกผมสัญญาได้ แต่ข้อสองผมไม่สามารถรับปากได้ว่าเราจะไม่ตายก่อน และทำไมเขามั่นใจว่าแอมเวย์ว่าให้ได้ดูแลเขาได้ขนาดนั้น จึงตามเขาไปดู ผมจึงรับโอกาสจากการได้เข้าไปฟังและสอบถาม สิ่งที่ผมชื่นชมตัวเองเรื่องหนึ่งก็คือ แม้ว่าผมเชื่อมั่นในตัวเองมาก เป็นคนมีอีโก้สูงมาก แต่เมื่อเรารับข้อมูลใหม่ที่มีเหตุผลมากกว่า เมื่อรับโอกาสใหม่ที่จะทำให้มีโอกาสในชีวิตดีกว่า ผมก็พร้อมเปลี่ยนแปลงตัวเอง ผมยอมทิ้งอีโก้ที่ไม่มีประโยชน์และรักษาอีโก้ที่มีประโยชน์ไว้ และยอมไปเรียนรู้ ยอมเปลี่ยนแปลงทุกอย่าง 

 

ช่วงที่ 3 ผลึกความคิดสร้างความสำเร็จจากโอกาส โดย คุณโป้ง ภุชงค์

ผมยอมรับว่าการจะมีคุณภาพชีวิตจำเป็นต้องมีตังค์ ตอนเริ่มต้นชีวิตผมมีรายได้เดือนละ 13,000 บาท ผมเป็นคนยะลา มาอยู่กรุงเทพต้องเช่าอพาร์ทเมนท์อยู่เดือนนึง 3,000-5,000 บาท เป็นสัดส่วนเกือบ 25% ของรายได้ ความเป็นอยู่แน่นอนว่าต้องใช้บริการสาธารณะ เราหรือแม่เจ็บป่วยก็ใช้สวัสดิการเท่าที่จะมีได้ แต่ถ้ารายได้สูงขึ้นเป็น 50,000-100,000 บาท ผมอาจจะซื้อบ้านดีๆ ในกรุงเทพฯไม่ได้ แต่อาจอยู่คอนโดที่คุณภาพดีหน่อย อาจจะมีรถสักคันเป็นรถมือสองที่คุณภาพดีหน่อยหรือรถป้ายแดงที่ไม่ได้สเปคใหญ่โตอะไร อาจจะทำประกันชีวิตประกันสุขภาพได้ แต่เลือกหมอไม่ได้แต่อาจจะพอเลือกรพ.ได้  หากผมมีรายได้ 200,000-300,000 บาท ก็อยากมีบ้านในแบบที่อยากได้ มีรถที่อยากจะขับ อาจจะมีความมั่นคงปลอดภัยมากกว่าแบบ 1-2 มีประกันชีวิตและสามารถเลือกหมอได้ ถ้าเราเป็นโรคหัวใจเราอาจเลือกหมอดีๆ เพราะมีคอนเนคชั่นมากขึ้น นี่คือเรื่องจริงที่ผมยอมรับในกติกามากๆ 

 

ถ้ามีรายได้เดือนละล้านแบบคุณหมอวัชรา ผมอยากจะมีบ้านแบบไหนก็ได้   มีความฝันเรื่องวัตถุที่เติมเต็มได้จนไม่อยากได้อะไรอีกแล้ว เรื่องรถอาจจะเป็นรถทางเลือก มีคันนี้เพื่อใช้ในงานนี้ มีโฟร์วีลไว้ลุยป่า มีรถตู้สำหรับครอบครัว ถ้าป่วยก็เลือกหมอได้เลือกพยาบาลได้ ดังนั้นเป็นเรื่องจำเป็นที่จะต้องรู้จักการออม แต่การออมอย่างเดียวเปลี่ยนชีวิตไม่ได้ ดังนั้นต้องรู้จักหารายได้เพิ่มและรู้จักออม

 

 

ตอนที่ผมสร้างชีวิต ผมประหยัดมาก และใช้เครื่องมือธุรกิจแอมเวย์สร้างชีวิต 4 ปี เปลี่ยนคุณภาพชีวิตจากระดับ 1 มาเป็นระดับ 3 ได้ ผมทำแอมเวย์ในกรุงเทพฯ ใช้รถเมล์ รถไฟฟ้า ไปทำเคสอาจนั่งแท็กซี่บ้างเพื่อไปให้ทัน ขากลับนั่งรถเมล์ ทำแอมเวย์ได้ปีเดียวเป็นมรกต แต่ผมไม่ใช้เงินยังนั่งรถเมล์เหมือนเดิม เพราะเราต้องมีสภาพคล่องในการทำธุรกิจมากๆ จนเป็นเพชรจึงซื้อรถยนต์ เราทำตามศักยภาพที่เรามี ผมกับแฟนประหยัดกินใช้ แต่นำเงินมาออมและหมุนเวียนเพื่อทำธุรกิจล้วนๆ ไม่ว่ามีโปรโมชั่น มีบัตรงานประชุม หรือขาดPVเล็กน้อย เราก็ไม่เคยมีปัญหาเพราะเราใช้เงินมาทำธุรกิจ   ต้องบอกเลยว่าการขยันอย่างเดียวเปลี่ยนชีวิตไม่ได้ ผมเป็นคนขยันมากไม่เคยหยุดเลย แต่ไม่สามารถเปลี่ยนชีวิตได้ ต้องอาศัยโอกาสและเครื่องมือที่ถูกต้องด้วย

 

ช่วงที่ 4 ทำไมต้องสร้างความสำเร็จให้เร็ว โดย คุณโป้ง ภุชงค์

เวลาเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ผมเป็นเพชรตอนอายุ 29 ตอนนี้ผมอายุ 41 แล้ว เวลาที่ใช้ไปเฉลี่ยแล้วคนเรามีอายุได้ราว 75 ปี หรือแค่ 27,000 กว่าวันเท่านั้น ถ้าใครเจอแอมเวย์ตอนอายุ 40 เราต้องเร่งที่จะทำ เพื่อมีเวลาใช้ชีวิตที่เหลืออย่างมีความสุข ถ้าใครเจอแอมเวย์ตอนอายุ 50 ก็ยิ่งต้องรีบสร้างความสำเร็จให้เร็ว 

คุณยายเป็นแรงบันดาลใจให้ผมสำเร็จไว ท่านเลี้ยงผมมาตั้งแต่เด็ก คุณยายเป็นโรคไต ต้องย้ายจากยะลามาอยู่สงขลากับคุณน้าเพื่อใกล้รพ.มอ. เพื่อไปฟอกไตที่นั่น วันหนึ่งทุกคนไม่อยู่บ้านคุณยายลื่นล้มในห้องน้ำหัวฟากชักโครก ก๋งกว่าจะพังประตูห้องน้ำ และโทรหาญาติให้พาส่งรพ.ก็เป็นชม. ยายก็ไม่ได้สติแล้ว น้องโทรมาบอกให้ผมไปดูยายหน่อย ผมทำงานบริษัทอยู่กับหุ้นส่วน ถ้าผมกลับไปงานจะส่งไม่ทันงวดงานและถูกปรับ ผมคุยกับหุ้นส่วน ทุกคนเห็นใจแต่ไม่รู้จะทำอย่างไร สุดท้ายผมไม่ได้กลับไปดูยาย ผมเป็นคนมีความรับผิดชอบในงานสูงมาก แต่ผมอาจไม่มีความรับผิดชอบในเรื่องชีวิตและครอบครัวมากนัก แต่ครั้งนั้นโชคดีที่คุณยายไม่เสียชีวิต แต่ต้องเข้าออกรพ.หลายครั้ง จนสุดท้ายท่านเสียชีวิต  การที่ผมมาเรียนรู้ในแอมเวย์คือทำให้ผมได้คิดว่าเราต้องคิดถึงอนาคตคิดถึงคนข้างหลัง ต้องรีบสำเร็จให้เร็ว ที่น่าเสียดายคือผมสำเร็จไม่ทันเวลา ผมเป็นเพชรตอนที่คุณยายเสียไปแล้ว นี่คือแรงบันดาลใจที่ทำให้ผมทำอะไรต้องทำให้เร็วตลอด 

งานบางงานทำให้เรารับผิดชอบได้บางอย่าง เราอาจรับผิดชอบงานได้ แต่เรารับผิดชอบชีวิตของเราไม่ได้ และวิกฤติแบบนี้เราไม่รู้ว่าจะมาเมื่อไร แม้คุณยายไม่ได้ต้องการวัตถุเงินทอง แต่เขาต้องการให้หลานที่เลี้ยงมามีความมั่นคง สร้างตัวได้มีครอบครัว มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี เพื่อท่านสบายใจหมดห่วง แต่ผมก็ไม่สามารถสำเร็จได้ทัน หลังจากนั้นผมก็ตั้งใจทำมาก จนสุดท้ายก็สำเร็จด้วยความตั้งใจ

 

คนมักเข้าใจว่าเส้นทางการเดินของความสำเร็จมีแค่ชนะกับแพ้ จริงๆ ไม่ใช่ ปกติผมรับไม่ได้ที่จะพ่ายแพ้ แต่จริงๆ แล้วกว่าจะประสบความสำเร็จ เราต้องผ่านความพ่ายแพ้มาเยอะมาก แต่การทำแอมเวย์ ทำให้ผมยอมรับความพ่ายแพ้ได้ มันฝึกความอดทนให้เรายืนหยัด จนประสบความสำเร็จได้อย่างแท้จริง และเราต้องสตรองมากเวลาที่จะทำในสิ่งที่ไม่เหมือนคนอื่น ถ้าจะทำแอมเวย์คนมักจะบอกว่าทำไมต้องทุ่มเทขนาดนี้ ผมเป็นคนที่ฝึกฝนมาก ผมไม่ชอบขายของ ไม่ชอบคุยกับคน ต้องฝึกตัวเอง มีความเป็นเจ้าของกิจการ พอเป็นเพชรผมก็แต่งงาน มีทรัพย์สินทุกอย่าง ซื้อคอนโด มีรถ มีชีวิตที่ดีขึ้น 

คุณหมอวัชราแนะนำผมเรื่องการมีครอบครัวมีลูก เพราะผมเคยกังวลเรื่องการมีลูก กังวลว่าเราจะเลี้ยงดูเขาให้มีความสุขได้มั้ย กังวลเรื่องการศึกษาของลูก จนภรรยาตั้งครรภ์ คุณหมอก็แนะนำเรื่องโรงเรียนทางเลือกแนววอร์ดอร์ฟให้ผม พอไปดูโรงเรียนผมตัดสินใจซื้อบ้านใกล้โรงเรียน และบ้านปัจจุบันมูลค่าเกินสิบล้าน ด้วยรายได้จากธุรกิจแอมเวย์ และครอบครัวมีความเป็นอยู่ทีดี ที่มีมากที่สุดคือเรื่องเวลา เพราะโรงเรียนต้องการให้พ่อแม่มาปรับทัศนคติด้วย ผมกับลูกต้องไปเรียนที่โรงเรียนด้วยกันบ่อยครั้ง ตอนนี้ลูกก็เรียนที่บ้านผมกับภรรยาก็มีเวลาสอนลูก นี่คืออิสรภาพและความโชคดีที่ผมได้จากธุรกิจแอมเวย์ ผมมีสิทธิ์ที่จะเลือกได้ตามที่ผมชอบ และได้ท่องเที่ยวกับธุรกิจแอมเวย์

 

สิ่งที่ผมได้มากๆ คือเรื่องการเปลี่ยนแปลงตัวเองทั้งภายในคือทัศนคติ และภายนอกคือด้านสุขภาพของตัวเอง จากคุณเงาะที่ไม่เคยทาแป้งทาลิป มาพัฒนาฝึกตัวเองในอาทิสทรี จนเป็น Top 50 Artistry เป็นตัวแทนประเทศไปที่ Artistry Beauty Institute และเปลี่ยนแปลงตัวเองทั้งผิวพรรณดีรูปร่างดีอย่างชัดเจนด้วยผลิตภัณฑ์จริงๆ ส่วนตัวผมเองมาเจอคุณหมอคุณมด แนะนำให้มาทำธุรกิจลดน้ำหนักตั้งแต่แรกๆ ที่คนยังไม่ทำกัน ได้มาศึกษาเรื่องแพทย์บูรณาการด้วยการใช้วิตามิน เป็นโอกาสที่ดีที่ได้มาทำตรงนี้ 

 

สำหรับ FTC ผมรู้สึกได้รับเกียรติมากๆ จากที่ผมเป็นสมาชิก มีคนทาบทามให้ผมสมัครเป็นกรรมการ ก็ได้รับเลือกเป็นกรรมการ นอกจากได้เรียนรู้เพิ่มเติม ได้พัฒนาและทุ่มเททำเพื่อสมาชิก จากมาดูแลเรื่องเงินกู้สองปี และได้พัฒนาซอฟท์แวร์ยุคแรกๆ และพัฒนามาจนเป็นซอฟท์แวร์เวอร์ชั่นปัจจุบัน รู้สึกภูมิใจที่ได้ทำอะไรเพื่อคนอื่น ที่ได้มากๆ คือเรามีคุณค่าและมีประโยชน์ต่อคนอื่น ผมกับภรรยาเริ่มออมไม่มากเดือนละ 3,000 เท่านั้น แต่ต่อนี้ผ่านมารวมๆ กันใกล้แตะเจ็ดหลักแล้ว เราไม่ได้มีโครงการจะกู้อะไร แต่เป็นเรื่องที่ดีมากและดีใจที่นำเงินของเราได้ช่วยเพื่อนๆ ของเราให้นำเงินไปใช้ต่อยอดในโปรเจคที่มีประโยชน์ หรือได้ช่วยเพื่อนๆ ที่ลำบาก ดีกว่าการฝากที่แบงค์ ผมว่าการทำสหกรณ์เป็นเรื่องที่ชาญฉลาดมาก    ๆ ผมเคยป่วยเลือดออกที่ลำไส้เป็นติ่งคล้ายริดสีดวงที่ลำไส้ ก็ได้รับการดูแลใช้สวัสดิการของสหกรณ์ที่ดีมากๆ คนที่เป็นสมาชิกสหกรณ์ทุกคนเป็นคนที่โชคดี อยากเชิญชวนให้ทุกคนมาเป็นสมาชิกสหกรณ์กัน แค่ได้ออมก็เป็นเรื่องที่มีประโยชน์ ในระยะยาวเป็นเรื่องที่ดีมาก  

 

 

ช่วงที่ 5  ถ้าไม่รับโอกาสวันนั้นคงไม่มีวันนี้ โดย คุณโป้ง ภุชงค์ 

ถ้าวันนั้นผมไม่รับโอกาสอะไรเลย ผมคงกลายเป็นคนหัวฟู วันเสาร์ไปไดรฟ์กอล์ฟกับลูกค้าพาลูกค้าไปเลี้ยงรับรอง ต้องชงเหล้าเก่ง ต้องทำงานงกๆๆๆ ไม่ได้ดูแลตัวเอง และถ้าเจอโควิดผมคงเจ็งไปแล้ว และคงไม่ได้มีชีวิตครอบครัวที่สุขสบาย และมีความสุขแบบนี้ แต่ตอนนี้ผมได้เรื่องสุขภาพที่ดีขึ้น ได้ดูแลคนในครอบครัวให้มีสุขภาพดี และธุรกิจเรื่องสุขภาพก็เติบโตมาก ได้ดูแลองค์กร และถ้าไม่ได้รับโอกาสจากคุณหมอวัชรา ผมอาจไม่ได้ครอบครัวที่สมบูรณ์แบบนี้ ไม่มีโอกาสทางการศึกษาที่ดีแบบนี้ให้ลูก อาจจะชอบใช้เงินสุรุ่ยสุร่ายกว่านี้เพราะไม่มีความรู้ทางการเงิน และไม่ได้เป็นคนที่สมบูรณ์ขึ้นแบบนี้ ตอนนี้ผมเรียกได้ว่าไม่มีภาระอะไรให้กังวล ไม่มีความเสี่ยงอะไร ต้องขอขอบคุณโอกาสทุกอย่างที่เข้ามาและเราได้รับไว้ และขอเป็นกำลังใจให้เพื่อนๆ ทุกคนที่ทำธุรกิจตอนนี้ว่าอย่าท้อ การทำแอมเวย์ในวิกฤตแบบนี้อาจจะไม่สะดวกมากนัก แต่ว่าง่ายกว่างานอื่นแน่นอน ขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนนะครับ 

 

ช่วงที่ 6 ฉุกคิดสักนิดในยุควิกฤติการศึกษา โดย นพ.วัชรา

ความสำเร็จของคุณโป้ง และผู้สำเร็จหลายคนที่เรารู้จัก มักมาจากวิธีคิดที่นอกกรอบที่ต่างจากวิถีประชา หากเราคิดเหมือนคนหมู่มากเท่าไรนั่นคือหายนะ 

ผมได้รับอีเมลล์จากโรเบิร์ต คิโยซากิ ท่านพูดถึงระบบการศึกษาว่า ปัจจุบันระบบการศึกษากลายเป็นศูนย์กลางของธุรกิจที่เป็นอาชญากรรม Criminal Enterprise โรงเรียนได้เปลี่ยนลูกหลานของเราให้เป็นเหยื่อของศูนย์กลางแห่งผลประโยชน์ หากเราไม่ฉุกคิดเรื่องการศึกษา ไม่ปรับปรุงตัวเอง ไม่ปรับทัศนคติของเราเรื่องการศึกษาผลสุดท้ายเราจะเป็นเหยื่ออย่างเดียว 

ตอนนั้นผมยังจำได้ว่าคุณโป้งอยากให้ลูกมาเรียนที่โรงเรียนนานาชาติใกล้บ้านผม ที่ลูกผมเรียนอยู่ ผมเป็นเพียงผู้ลี้ภัยทางการศึกษาแบบเดิม และบังเอิญผมมีเงินพอที่จะจ่ายให้กับโรงเรียนอินเตอร์ พอเรียนไปๆ ก็พบว่ามีเรื่องที่ดีเหนือระบบการศึกษาไทย อย่างการที่ฝึกให้เด็กคิดวิเคราะห์ แต่ก็ยังขาดความสามารถในการหัตถกรรม หรือการใช้มือกับงานบางอย่าง ถ้าผมมีทางเลือกผมจะเลือกอีกแบบ  คือเป็นโรงเรียนที่สอนให้เด็กคิดเป็นวิเคราะห์เป็น พึ่งตนเองเป็น ฝึกให้เด็กมีทักษะการทำงานด้วยมือเป็น ผมว่านี่เป็นทักษะจำเป็นสำหรับการอยู่รอดในโลกยุคใหม่ ไม่อย่างนั้นท่ามกลางข่าวต่างๆ ถ้าหากเราคิดไม่เป็นเราจะตกเป็นเหยื่อของข่าว เพราะเราไม่รู้ว่ามีอะไรอยู่ใต้ภูเขาน้ำแข็ง ที่เรามองเห็น ถ้าเราวิเคราะห์สิ่งเหล่านี้เป็น เราจะไม่ตกเป็นเหยื่อ

ต่อไปมนุษย์ต้องพึ่งพาตัวเองมากขึ้น ในสังคมที่เจริญอย่างยุโรป อเมริกา ไม่ว่ารวยแค่ไหนต้องกวาดบ้าน ถูบ้าน ล้างจาน ทำกับข้าวเป็น ดูแลบ้านเป็น ต้องซ่อมแซมเป็น ต้องพึ่งตัวเองเป็น ผมฟังแล้วรู้สึกยินดีกับครอบครัวคุณโป้งมาก นี่เป็นสิ่งที่สำคัญมาก เราต้องฝึกลูกใหม่ พ่อแม่คือครูที่สำคัญที่สุด พ่อแม่ต้องปฏิวัติตัวเอง เพื่อเป็นตัวอย่างให้ลูก สอนลูกเอง 

คิโยซากิ ยังบอกว่าให้เลิกคิดว่าคะแนนดีๆ เรียนสูงๆ จะทำให้อนาคตดี แต่ส่ิงสำคัญคือ  Financial Education การให้การศึกษาทางการเงินกับลูกๆ จะเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้อนาคตลูกไม่ขมขื่น ขอบคุณคุณสุวิทย์ที่จัดรายการแบบนี้ที่เป็น Life Learning Experience เป็น Life-long Education ที่เราต้องเรียนกันเอง ใครเรียนอะไรมาก็นำสิ่งที่เรียนมาแบ่งปันกัน ขอบคุณคุณสุวิทย์ ขอบคุณคุณโป้ง ขอบคุณ FTC 

 

คุณสุวิทย์ กล่าวเสริมว่า การศึกษาที่เป็น Life-long Learning ที่เรียนรู้ตลอดชีวิตจำเป็นมาก ทั้งคนที่เป็นพ่อแม่และคนที่เป็นลูกต้องเรียนรู้ ระบบการเงินตอนนี้ซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ เราไม่รู้ว่าเราเป็นเหยื่อทางการเงินของใครรึเปล่า การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเราอาจทำอะไรไม่ได้ เราต้องเปลี่ยนมายเซ็ทโดยการเรียนรู้และตามให้ทัน พื้นฐานการออมและ การใช้ชีวิตพอเพียงเป็นสิ่งสำคัญ การเรียนรู้กับ FTC เรามีพื้นฐานจากตรงนี้ การที่เราเรียนรู้แบบวันนี้ ขอบคุณคุณโป้ง ที่บอกว่าเปลี่ยนมายเซ็ท ที่เมื่อก่อนเป็นวิศวกรที่ไม่เคยยอมแพ้ แต่วันนี้แพ้ได้ แพ้ได้หลายครั้งด้วย เพื่อเก็บประสบการณ์และในที่สุดเราก็เป็นผู้ชนะ 

 

ของฝากจาก FTC สวัสดิการพิเศษสำหรับสมาชิก FTC และแอพลิเคชั่น FTC โดย คุณเอ สายสุณี

    สวัสดิการคุ้มครองเงินกู้ (สก.1) กรณีสมาชิกเสียชีวิต หนี้คั่งค้างรวมดอกเบี้ยกองทุนสวัสดิการฯ ชำระหนี้แทนตามจริง ไม่เกิน 500,000 บาท  ซึ่งหากไปกู้ข้างนอก ทางธนาคารบังคับให้เราทำประกันแต่หากเกิดเหตุ ผลประโยชน์เงินประกันในสัญญาระบุว่าผู้ให้กู้เป็นผู้รับประโยชน์ 

 

สวัสดิการคุ้มครองทุนเรือนหุ้น (สก.2) กรณีเสียชีวิต กองทุนสวัสดิการฯ จ่ายสมทบหนึ่งเท่าของจำนวนหุ้นที่มีอยู่จริง แต่ไม่เกิน 300,000 บาท โดยคำนวณจ่ายตามสัดส่วนของอายุของสมาชิก

 

 

กรณีเสียชีวิต FTC มีสวัสดิการค่าช่วยจัดการงานศพ 1000 บาท โดยต้องสะสมหุ้นมาอย่างน้อย 6 เดือน และยื่นขอรับสวัสดิการภายใน 45 วันหลังจากเสียชีวิต 

 

สวัสดิการชดเชยรายได้กรณีพักรักษาตัวแอดมิดใน รพ. ไม่น้อยกว่า 12 ชม. สมาชิกต้องชำระทุนเรือนหุ้นครบอย่างน้อย 12 เดือน ใช้เอกสารสำเนาใบรับรองแพทย์ สำเนาใบเสร็จรับเงิน และสำเนาบัตรประชาชน  ยื่นเอกสารภายใน 90 วัน หลังออกจากรพ. หรือสามารถดาวน์โหลดเอกสารขอรับสวัสดิการทางเว็บไซท์ และส่งไปรษณีย์มายังสหกรณ์ 

 

 

ตอนนี้สหกรณ์มีแอพลิเคชั่น CoOp Network ใช้ถอนเงิน โอนเงิน และรับเงินกู้ โดยไม่ต้องเดินทางมาที่สหกรณ์ เอกสารที่ใช้ในการเปิดใช้แอพลิเคชั่น สำเนาบัตรประชาชน สำเนาหน้าสมุดบัญชีธนาคาร พร้อมลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง ส่งเอกสารมายังสำนักบริการ เมื่อได้รับการอนุมัติสามารถเปิดใช้แอพลิเคชั่นได้ ท่านสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ทางคอลเซนเตอร์ และไลน์ @freetrade

ช่วงท้าย ตกผลึกความคิดจากผู้รู้

วันนี้เราได้รับฟังประสบการณ์อันทรงคุณค่าจากวิศวกรผู้มีแนวคิดเฉียบคมอย่าง คุณโป้ง ภุชงค์ วัชรปิยานันทน์ ที่ให้บทเรียนการรับมือกับวิกฤติ และการเปิดรับโอกาสดีๆ ในชีวิต เพราะเราไม่มีทางรู้ว่า วิกฤติกับโอกาสอะไรมาก่อนกัน ก่อนจากกันแอดขอสรุปแนวคิดสำคัญจาก คุณโป้ง ภุชงค์ ให้เพื่อนๆ นำไปปรับจูนมายเซ็ทและ เตรียมพร้อมก่อนที่ทุกวิกฤติในชีวิตจะมาถึง

1. ความขยันเป็นต้นทุนสู่ความสำเร็จ แต่ขยันอย่างเดียวเปลี่ยนชีวิตไม่ได้ ต้องเปิดรับโอกาสและเลือกเครื่องมือสร้างชีวิตที่ถูกต้อง

2. คุณภาพของคำถามนำมาสู่คุณภาพชีวิต เข้าหาผู้รู้และรู้จักตั้งคำถามที่ดี

3. ปล่อยวางอีโก้ที่ฉุดรั้งความก้าวหน้า รักษาอีโก้ที่เป็นประโยชน์ต่อความสำเร็จ

4. รู้จักพ่ายแพ้ให้เป็นและยืนหยัดจนประสบความสำเร็จ

5. ไม่ประมาทในการใช้ชีวิต รู้จักออม รู้จักหารายได้เพิ่ม รู้จักแสวงหาความรู้ใหม่ด้วยมายเซ็ทของการเรียนรู้ตลอดชีวิต 

 

เพื่อนๆ สามารถอัพเดทความรู้และประสบการณ์ดีๆ จากผู้รอบรู้การเงินได้ทาง  FTC Channel ทุกวันเสาร์เวลา 10.00-11.00 น. สัปดาห์หน้า FTC  จะเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางการเงินให้เพื่อนๆ ในมิติไหน อย่าลืมติดตามกัน !