สรุปการเสวนา FTC TALK EP.39 : กรรมกรออนไลน์กับวิธีฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจยุคดิจิตอล

โดย Admin T
 วันที่ 31 มี.ค. 2565 เวลา 14:19 น.
 1217
สรุปการเสวนาFTC TALK  EP.39 
กรรมกรออนไลน์กับวิธีฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจยุคดิจิตอล

 

             รายการ FTC Talk ประจำวันเสาร์ ที่ 26 มีนาคม 2565 ได้รับเกียรติจาก คุณคำดี  ศิริพลพรม (คุณแต้ม) อดีตกรรมกร จบ ป.4 ปัจจุบันเป็นเจ้าของธุรกิจส่วนตัว มาแบ่งปันเรื่อง กรรมกรออนไลน์กับวิธีฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจยุคดิจิตอล ประสบความสำเร็จทางแอมเวย์ ตำแหน่ง Platinum 2 ผู้สถาปนา เข้ามาแอมเวย์ ปี พ.ศ. 2537 ประสบความสำเร็จ ปี พ.ศ. 2540
 
วิกฤตเศรษฐกิจ ปี 2540 พี่แต้มเอาตัวรอดอย่างไร?
          โชคดีพี่แต้มเป็นกรรมกร ไม่รู้จักวิกฤต พี่แต้มไม่รู้จักคำว่า ค่าเงินบาท รู้อย่างเดียวคือต้องทำงาน แล้วตอนนั้นทำแอมเวย์เราขึ้นเวทีกัน ประกาศกันว่า เราจะเป็น 21% พอพี่แต้มพูดว่าเป็น 21% พี่แต้มก็คิดอย่างเดียวจะทำยังไงถึงจะเป็น 21% ก็เลยไม่เข้าใจว่าเศรษฐกิจเป็นยังไง? ค่าเงินบาทลอยตัวเป็นยังไง? รู้อย่างเดียวคือจะสำเร็จต้องทำยังไง?
ค่อนข้างจะไม่เข้าใจสังคม แต่เข้าใจตัวเอง ก็พยายามเข้าใจตัวเอง เพราะบางครั้งการเข้าใจสังคมมาก พี่แต้มมองว่าบางครั้งมันจะทำให้ชีวิตเราสะดุดแล้วมันก็หยุดเดิน
 
ผมเคยฟังการที่จะหาเงินมาประชุมมาเรียน พี่มีวิธีการที่จะประหยัดเงินได้ เช่น เวลาซื้อปลากระป๋องชนิดที่มีห่วงดึงกับชนิดที่ต้องเอาเท้าประกบเปิด ทำไมพี่แต้มถึงเลือกชนิดที่มันเปิดยาก?
            ตอนที่ปลากระป๋องกับไข่ มันเป็นตอนที่พี่แต้มตัดสินใจแล้ว ตอนที่ต้องเก็บเงิน ต้องมีเงินเหลือบ้างเพื่อที่จะไปซื้อสินค้า แต่ช่วงที่ตัดสินใจจะไปประชุม พี่แต้มต้องมีเงินค่ารถไปประชุม 7 บาท 50 สตางค์ พี่แต้มรับจ้างคนในแคมป์ขายเบอร์ เดือนนึงจะขาย 2 รอบ ได้ค่าจ้างรอบละ 50 บาท หากขายหมดจะได้ค่าจ้างรอบละ 70 บาท ตอนซื้อปลากระป๋องกับไข่ ปลากระป๋องต้องใช้ชนิดที่ไม่มีห่วงเปิดใช้เท้าประกบแล้วเอามีดเจาะ เพื่อให้ราคาถูกลง แล้วต้องเลือยี่ห้อที่มีปลา 3 ตัว เพื่อความประหยัด
            พี่แต้มมีความฝัน แต่พี่แต้มมีความพยายามไปให้ถึงฝันตัวเอง มันก็ต้องหาวิธี มันมีเรื่องของเวลากับเงิน ความฝันที่จะเดินไปข้างหน้าต้องแลกด้วย 2 เรื่องนี้
 
เราพอจะรู้แล้วนะครับว่า พี่แต้มมีคุณสมบัติของคนที่ประสบความสำเร็จอย่างไร? ก็คือเป็นคนที่บริหารจัดการทั้งเวลาและการเงินของตัวเองได้ดี
ทีนี้ถามอีกนิดนึงว่า หลังจากที่พี่แต้มประสบความสำเร็จเป็น Platinum สมัยก่อนแล้ว หลังจากนั้นก็ทำธุรกิจมาโดยตลอด แน่นอนในระหว่างที่ทำธุรกิจเนี่ย ธุรกิจก็เติบโตบ้าง อาจจะชะงักบ้าง พี่แต้มรักษาความฝันแล้วก็เป้าหมายอย่างไร คือผมเห็นพี่แต้มเนี่ยพัฒนาตัวเองสูงมาก เช่น เอาหนังสือที่เกี่ยวกับสุขภาพมาอ่าน แล้วก็นำเสนออาหารเสริมคือผมงงมากเลยว่าพี่แต้มไม่ได้เรียนทางด้านนี้มา ทำไมถึงขยันอ่านหนังสือ มาเล่าให้พวกเราฟังครับ

            จริงๆ แล้วไม่ได้เป็นเรื่องของการพัฒนา คือคนอื่นมองว่าพี่แต้มพัฒนา แต่พี่แต้มมองว่าพี่แต้มไม่ได้พัฒนา แต่พี่แต้มมีความรู้สึกว่า เราจบ ป.4 ไม่มีความรู้อะไร เพราะฉนั้นหนังสือคือมหาลัยของพี่แต้ม
 
หลังจากนั้นในช่วงที่โควิดมา 2-3 ปี พี่แต้มพัฒนาองค์กรธุรกิจอย่างไรครับ?
            พัมนาตัวเอง เปลี่ยนแปลงตัวเอง พี่แต้มจะพูดกับดาวน์ไลน์เสมอว่า เราจะเปลี่ยนแปลงมั้ย ถ้าเราไม่เปลี่ยนแปลงนะ โลกมันจะเปลี่ยนเอง เพราะฉนั้นวันนี้จะเปลี่ยนแปลงเองหรือให้บางสิ่งบางอย่างมาเปลี่ยน แต่ถ้าบางสิ่งบางอย่างมาบัคับให้เราเปลี่ยนเนี่ย พี่ว่าชีวิตคนมันไม่มีไอเดีย มันโดนบังคับเปลี่ยนมันไม่มีไอเดียสร้างสรรค์ไม่ได้ เพราะฉนั้นอย่ารอให้บางสิ่งบางอย่างมาบีบเรา ถ้าอะไรที่มาบีบเรา คนเราจะมีแรงต้านเป็นธรรมชาติคนโดนบังคับให้เปลี่ยนมันจะไม่มีความสร้างสรรค์
 
ช่วงโควิด ช่วงที่มีการล็อกดาวน์ เรื่องของการบริหารการเงินทำยังไง?
แล้วพี่แต้มมารู้จัก FTC อย่างไร? แล้วได้ประโยชน์จาก FTC อย่างไรบ้าง?
            ต้องขอบคุณคุณสุวิทย์,คุณหมอวัชรา และน้องๆ ในสถาบัน ที่ทำให้พี่แต้มมีวันนี้ ทำให้พี่แต้มมีความรู้สึกว่า พี่แต้มมีความมั่นคงมากเลยค่ะ เหมือนมีความรู้สึกว่าเรามีที่ปรึกษาทางด้านการเงิน เหมือนกับเรารู้สึกภูมิใจในตัวเองว่าเราอยู่กับ FTC
            แต่เรื่องการเงิน พี่แต้มเป็นคนรู้จักเรียบเรียงเรื่องเงิน พี่แต้มเป็นคนคิดมาตั้งแต่เป็นพื้นฐานอย่างที่พี่แต้มเล่า เรื่องจัดการการเงินเป็นคนค่อนข้างละเอียด ก็ต้องขอบคุณความจนที่ทำให้พี่แต้มละเอียด ต้องขอบคุณประสบการณ์ชีวิตเก่าๆ ขอบคุณความจน ขอบคุณทุกสิ่งทุกอย่าง แล้วก็มาถึงวันนี้ก็ต้องขอบคุณ FTC ที่ดูแลพี่มาตลอด พี่รู้สึกภูมิใจที่มีที่ปรึกษาเรื่องการเงิน ไม่รู้เรื่องเงินก็มีคนให้คำปรึกษาค่ะ