แนวคิดฝ่าวิกฤติ Covid-19

โดย Admin T
 วันที่ 30 ส.ค. 2564 เวลา 15:57 น.
 1323

สรุปประเด็น FTC Channel แนวคิดฝ่าวิกฤติ Covid-19 

 

เช้าวันเสาร์อากาศสบายๆ ฝนโปรยปรายแบบนี้ FTC Channel ชวนเพื่อนๆ มาติดอาวุธแนวคิดเพื่อฝ่าวิกฤติ Covid-19 จากมุมมองของผู้รู้มากประสบการณ์อย่าง นพ.วัชรา ทรัพย์สุวรรณ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ FTC คุณนิพิฐพนธ์ ภูริชบุญทรัพย์ ที่ปรึกษา FTCและที่ปรึกษาธุรกิจและการสร้างแบรนด์ คุณคมสัน สำราญเฟื่องสุข คณะกรรมการ FTC  ดำเนินรายการโดย คุณบอม ธนภูมิ พันธุมสุต คณะกรรมการการศึกษา FTC และคุณปานรัชนี เมฆพุ้ย  เจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาดและประชาสัมพันธ์ FTC ร่วมแบ่งปันแนวคิดเฉียบคม เพื่อพาทุกคนฟันฝ่าวิกฤตินี้ไปด้วยกัน

 

ช่วงแรก เปิดประเด็นลับคมความคิด โดย นพ.วัชรา

    เมื่อคืนจนถึงเช้านี้ฝนตกอากาศสบายๆ ถ้าดูพยากรณ์อากาศจะพบว่า ทั่วประเทศจะมีฝนตกแบบนี้ต่อเนื่องจนถึงสิ้นเดือนสิงหาคม เมื่อฟ้าหลังพายุฝนผ่านไป คนส่วนใหญ่มักจะบอกว่าอากาศดีขึ้น เช่นเดียวกันกับภาวะโควิดที่กำลังแพร่กระจายไปทั่วโลก ผมเชื่อว่าหลังโควิด เราจะพบความหวังที่สดใส และอาจจะพบโอกาสใหม่ๆ ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในโลกนี้ก็ได้ ขอให้ทุกคนอยู่กับความหวัง และความคิดเชิงบวก ที่จะพาเราฝ่าวิกฤตินี้ไปได้

    วิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงตอนนี้เกิดขึ้นแบบ 360 องศา เดิมผู้คนต้องออกไปหาคอนโด      อพาร์ทเมนท์ เพื่อสะดวกเดินทางไปทำงานออฟฟิศ  รัฐก็พยายามสร้างรถไฟฟ้าให้ครอบคลุม พัฒนาเทคโนโลยีการสื่อสารให้ครอบคลุม แต่ตอนนี้เกิดวิกฤติใครจะใช้ระบบเหล่านั้นได้เต็มที่ เพราะการอยู่ในเมืองก็อาจจะเป็นค่าใช้จ่ายที่เกินจำเป็นในยุคนี้ ผู้คนเริ่มกลับไปอยู่ในชนบทหรือย้ายไปอยู่เมืองรองมากขึ้น ความเจริญของเมืองและชนบทจะค่อยๆ ลดช่องว่างลง 

ด้านการศึกษานั้น ผมเคยอ่านหนังสือ School is dead เมื่อหลายปีก่อน พอเกิดภาวะแบบนี้การศึกษาแบบเดิมอาจจะไม่ตอบโจทย์อีกแล้ว วันนี้ทั้งโรงเรียน มหาวิทยาลัยก็ประสบปัญหา รวมถึงครูที่สอนในรูปแบบเดิมก็อาจไม่ตอบโจทย์  การแพทย์แบบเดิมๆ ก็เปลี่ยนไป เราสามารถเข้าแอพพลิเคชั่น และดูว่านัดพบแพทย์กี่โมง เราเพียงไปก่อนเวลาไม่นานไม่ต้องรอตั้งแต่ตีสี่ไม่ต้องไปแออัดรอนานที่รพ.เหมือนเมื่อก่อน  ซึ่งปัจจุบันมี Tele Medecine ที่ผู้ป่วยบางโรค เช่น เบาหวาน ไม่จำเป็นต้องพบแพทย์ทุกเดือน แต่วัดค่านำ้ตาล ค่าความดันส่งให้หมอ และปรึกษาผ่านออนไลน์หรือโทรศัพท์ แพทย์จะสั่งยาให้ คุณเพียงซื้อยามาทานตามนั้น 

    การประชุมธุรกิจก็เปลี่ยนไปเช่นกัน เพื่อนของผมชาวอินโดนีเซียเล่าให้ฟังว่า ตอนนี้เขารู้สึกสนุกมาก เพราะสามารถเชิญเกสท์สปีคเกอร์จากทั่วโลกมาแลกเปลี่ยนกัน โดยไม่ต้องเสียค่าเครื่องบินแล้ว สามารถเข้าฟังผู้นำทั่วโลกผ่านทางซูม 

ส่วนพิธีกรรมสารทจีน ตรุษจีน สงกรานต์ เชงเม้ง ฯลฯ ที่เราเคยต้องไปรวมกันที่บ้านคนหนึ่ง แต่ปีนี้เราก็ไหว้ที่บ้านของเรา อัญเชิญรูปบรรพบุรุษมาไหว้เองได้แล้ว เมื่อต้นปีผมทำบุญให้บรรพบุรุษที่วัดชลประทาน หลวงพ่อก็ให้นำรูปบรรพบุรษอัพโหลดลงระบบ cloud โดยที่ครั้งหน้า ผมไม่ต้องนำโกฏิและรูปไปที่วัด ก็สามารถทำพิธีอัญเชิญบรรพบุรุษมาทำพิธีกรรมได้แล้ว 

หรือการเสียภาษี แม้เราไม่มีความรู้คำนวณไม่เป็น แต่ขอให้เราอัพเดทเทคโนโลยีด้านไอที ให้พร้อม ทุกอย่างจะสามารถคำนวณและชำระภาษีผ่านระบบออนไลน์ได้ งานศพ และงานแต่งงานรูปแบบใหม่ ก็จะจัดทำพิธีกันแบบกระชับขึ้น เราอาจไม่ต้องเดินทางไป แต่จะถ่ายทอดสดผ่านออนไลน์ให้คนร่วมแสดงความยินดีกันได้   

    อีกมุมหนึ่งคือโลกในสมัยนี้ผู้คนจะว้าเหว่มากขึ้นเพราะคนไม่กล้าไปมาหาสู่กันเหมือนเมื่อก่อน  ดังนั้นเราต้องเตรียมตัวให้พร้อมในการอยู่คนเดียวมากขึ้น

 

ช่วงที่ 2 ติดอาวุธทางความคิดในยุค New Normal โดย คุณสุท  นิพิฐพนธ์

ปัจจุบัน ผมทำงานเป็นที่ปรึกษาเกี่ยวกับโมเดลการสร้างแบรนด์และธุรกิจให้บริษัทเอกชน และมีส่วนร่วมในการปลดล็อกแก้ปัญหาเศรษฐกิจให้กับภาครัฐบางส่วน เป็นวิทยากรให้กับองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน และSME ตอนนี้ได้เป็นเกียรติอย่างมากที่ได้เข้ามาเป็นที่ปรึกษาด้านแบรนด์และธุรกิจให้กับ FTC

สำหรับผมเราได้ยินคำว่า New Normal กันมา 1 ปีแล้ว ซึ่งนานมากนะครับ เดี๋ยวนี้สิ่งที่ผ่านมา 6 เดือนถึง 1 ปีเราถือว่านานแล้ว แต่ขึ้นกับว่าเรามีมุมมองกับมันอย่างไร หลายคนมองว่า New Normal เป็นพฤติกรรมใหม่แต่ตอนนี้ไม่ใหม่แล้วเป็นปกติไปแล้ว สิ่งที่สำคัญสำหรับ New Normal จริงๆ คือเราจำเป็นต้องมีเซ็ทความรู้ใหม่ภายใต้สถาณการณ์การทำธุรกิจแบบใหม่ในยุค New Normal ที่จะทำให้เราผ่านวิกฤติไปอย่างราบรื่น เพราะหลังจากนี้ไปชุดความรู้นี้จะอยู่กับเราด้วย

 

ขออนุญาตแชร์ว่า เมื่อต้นปี 2020 มีผู้กำกับภาพยนตร์ที่ทำหนังเรื่อง The Transformer ได้ผลิตหนังเรื่อง Covid-2023 ที่มีการวิเคราะห์ว่าหากโควิดเกิดไปถึงปี 2023 ชีวิตเราจะเป็นอย่างไร สภาพเศรษฐกิจ การเมือง และวิถีชีวิตผู้คนจะเป็นอย่างไร  อยากฝากให้ทุกคนได้คิดว่าหากโควิดอยู่กับเรายาวนานไปจนถึงปี 2023 เราจะเตรียมเซ็ทความรู้ในการทำธุรกิจใหม่อย่างไร ซึ่งเซ็ทความรู้ใหม่และการพัฒนาตัวเองจะเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เราผ่านวิกฤติไปได้ 

 

คุณเบิ้ล คมสัน กล่าวเสริมมุมมองนี้ว่า คำว่า New Normal สำหรับเราได้กลายเป็น Normal เรียบร้อยแล้ว เพราะทุก New Normal จะกลายเป็นความเคยชินของเราอยู่แล้วไม่ว่าเราจะทำหรือไม่ทำอะไร อยู่ที่ว่าเราอยู่แบบไหน จะสามารถทำธุรกิจให้เติบโตได้หรือไม่ มีชีวิตที่ดีขึ้นได้หรือไม่ หรือยังมีชีวิตเหมือนเดิม

เราต้องเคยชินให้ไว ปรับตัวให้ไว เพราะคนรุ่นใหม่เคยชินไว บางคนแค่สามเดือนหกเดือนก็ปรับตัวได้แล้ว  แต่ถ้าผ่านไปปีนึงเรายังรู้สึกว่าตัวเองลำบากอยู่เลย เราก็จะใช้ชีวิตยากครับ และเราควรคิดว่า ทำอย่างไรก็ได้ที่จะพัฒนาตัวเองให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตที่เป็นความปกติใหม่ให้เร็ว ให้เราดูว่า ในสถานการณ์ใหม่เแบบนี้เราทำอะไรได้บ้าง 

 

ช่วงที่ 3 คิดอย่างไรให้ผ่านภาวะเครียดติดบ้าน (Home Syndrome) โดย คุณสุท นิพิฐพนธ์ และ คุณเบิ้ล คมสัน

คุณบอม ธนภูมิ ตั้งข้อสังเกตว่า ตอนนี้หลายคนอยู่บ้านนานๆ เริ่มมีความรู้สึกเบื่อบ้าน และวิถีชีวิตใหม่ที่บ้านเราไม่รู้จะจัดการชีวิตอย่างไร ร่างกายเรามีความเครียดทั้งๆ ที่ไม่มีปัญหาการเงินแต่เราไม่มีความสุข เราควรจะปรับตัวอย่างไร มีแนวทางที่จะผ่านไปอย่างไร?

คุณสุท กล่าวว่า จริงๆ แล้วมนุษย์เป็นสัตว์สังคม เมื่อเราไม่ได้พบปะกัน จะทำให้มีความเครียดสะสมโดยไม่รู้ตัว ยิ่งช่วง WFH ความเครียดยิ่งสูงขึ้น เราจะปรับตัวเพื่อบริหารความเครียดอย่างไร ทั้งที่เราไม่ได้สบายใจที่จะไปร้านกาแฟ หรือพบปะเพื่อนฝูงพูดคุยกันนานๆ เพราะเป็นภาวะที่ไม่ปลอดภัยไม่สบายใจเหมือนก่อน 

ผมขอยกตัวอย่าง Gen Z ที่เขาพบปะกันทางออนไลน์ โดยเล่นเกมทางออนไลน์ เช่น เกม Werewolf  การเล่นเกมทายเพื่อตามหาหมาป่า เป็นเกมที่แต่ละคนพยายามปิดบังและพยายามค้นหาหมาป่าให้เจอ เราได้ใช้ความรู้สึกของเราในการเล่นเกมนี้ ซึ่งสามารถทดแทนการปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์ได้บ้าง แม้ไม่ถึงกับทดแทนได้ 100% ก็ตาม หรือการเล่นบอร์ดเกมในออนไลน์ หากเราลองเปิดใจรับสิ่งใหม่ๆ บ้าง เราจะค้นพบความรู้สึกใหม่ๆ

ตอนนี้เราตัดเวลาของการเดินทางไปเยอะมาก ราวๆ 3-4 ชั่วโมงต่อวัน เราก็สามารถนำเวลาส่วนนี้ไปสร้างสัมพันธ์กับผู้คนรอบตัวเราได้ โดยเราเปิดใจยอมรับและทำสิ่งใหม่ๆ ก็สามารถคอนเนคกันได้ หรือแบบง่ายๆ คือการเปิดกล้องคุยเล่นกัน เปิดกล้องกินข้าวกัน เปิดกล้องออกกำลังกาย เชื่อมั้ยว่า เราใช้ New Normal เปิดกล้องโยคะกันเราก็สามารถได้เพื่อนใหม่ได้ และเป็นเรื่องที่ดีมากๆ นะครับ ลองดูนะครับ หรือเราอาจลองเปิดกล้องกินหมูกะทะกันมั้ยครับ ลองดูนะครับสนุกมากเลย

 

คุณเบิ้ล กล่าวว่า คนเราเป็นสัตว์สังคมและสิ่งที่เห็นชัดคือมนุษย์โหยหาอิสรภาพ เรื่องนึงที่ต้องเข้าใจก่อนคือบนโลกนี้เรามีปัญหา 2 อย่าง คือปัญหาที่แก้ได้ กับ ปัญหาที่แก้ไม่ได้ วันนี้เราอยู่บ้านเราเครียด แต่การที่เราออกไปนอกบ้าน เราและคนที่บ้านอาจเครียดกว่าเดิมก็ได้ เมื่อเหตุที่ทำให้เราต้องเป็นแบบนี้เราแก้ไม่ได้ ดังนั้นเราต้องฝึกที่จะอยู่กับตัวเองให้เป็น ถ้าเราโฟกัสกับสิ่งที่แก้ไม่ได้สุดท้ายก็ไม่มีประโยชน์ ดังนั้นอยากให้เราโฟกัสกับสิ่งที่เราแก้ไขได้ดีกว่า

ที่กลุ่มของผม ปกติเราจะนัดกินข้าวกันเดือนละครั้ง แต่พอเป็นแบบนี้ เราก็เปิดกล้อง อาฟเตอร์คุยกัน ซึ่งก็จะยาวนานกว่าเดิมสามเท่า ถือว่าก็พอช่วยได้

ยุคนี้เราเข้าถึงข้อมูลอะไรได้ง่ายมาก แต่เมื่อมันง่ายและเร็วเราก็เบื่อง่าย ดังนั้นการที่เราเข้าถึงข้อมูลง่ายเราสามารถเพิ่มทักษะใหม่ๆ หรือความท้าทายใหม่ๆ ให้ตัวเองได้ เช่น ทำอาหารเองมากขึ้น และมีหลายสิ่งให้เราลงมือทำระหว่างช่วงนี้ ที่เราจะภูมิใจกับตัวเองมากขึ้นได้ 

การอยู่กับตัวเองให้เป็น สำหรับผมคือเราสามารถอยู่คนเดียวโดยที่มีจิตที่ผ่องใส มีความรู้สึกสุขอย่างปกติได้เหมือนเดิม ต่อให้เราต้องการติดต่อกับคนอื่นมากแค่ไหน แต่ในที่สุดแล้ว คนที่จะอยู่กับตัวเราเองได้นานได้ดีที่สุดตลอดชีวิตคือตัวเราเอง บางทีเรามีเพื่อน 5 คน เราคุยกันก็ทำให้คิดถึงแต่เรื่องของคนอื่น แต่เราไม่เคยนึกถึงเรื่องของตัวเองเลย ว่าเรามีจุดดีตรงไหนที่ทำให้เราสุขได้ มีจุดด้อยตรงไหนที่เราสามารถใช้เวลาช่วงนี้พัฒนาได้ 

อีกด้านหนึ่งการอยู่กับตัวเอง คือการให้ความสำคัญและให้ความรักกับคนในครอบครัว นี่เป็นสิ่งสำคัญ ที่อาจทำให้เราเติบโตขึ้นและมีความสุขมากกว่าเดิมด้วยซ้ำ



 

ช่วงที่  4 การปรับตัวปรับใจหาความสุขใหม่เพื่ออยู่กับตัวเองได้ดีขึ้น โดยคุณเบิ้ล คมสัน และ คุณสุท นิพิฐพนธ์

คุณเบิ้ล คมสัน กล่าวว่า อาจเป็นทุนเดิมของผมที่เป็นคนเงียบๆ เข้าสังคมคุยกับคนไม่เก่ง แต่เรามีความสุขในมุมเงียบๆ ของเราได้ สำหรับผม ศีล สมาธิ ปัญญา หรือการปฏิบัติการทำความดีต่างๆ  เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เราอยู่กับตัวเองได้ดีขึ้น เพียงแบ่งเวลาจาก 4 ชั่วโมงที่คุณสุทบอก มาสัก 10-15 นาที ที่เราใช้เวลาหลับตาอยู่กับตัวเอง โฟกัสอยู่กับลมหายใจของเรา ทำให้เข้าใจตัวเองมากขึ้น อย่างน้อยเราได้นิ่ง ไม่คิดฟุ้งซ่าน หรือระหว่างหลับตา เราคิดในเรื่องที่เราต้องการคำตอบ ในระหว่างที่เรานิ่งอาจมีความคิดดีๆ แว้บขึ้นมาก็ได้ อยากให้ลองทำดูครับ สำหรับคนที่ไม่เคยทำอาจจะยาก แต่เริ่มจากหนึ่งนาทีก็ได้ครับ แค่หลับตาและกำหนดรู้ว่าเราหายใจเข้าหรือออกอยู่ก็ได้ 

 

คุณสุท นิพิฐพนธ์ กล่าวว่า ก่อนหน้าโควิด ผมมีการปรับตัวในธุรกิจที่ปรึกษาและการสร้างแบรนด์กับลูกค้าอยู่บ้างแล้ว จึงไม่รู้สึกแปลกแตกต่างมากนัก พอมีเรื่องออนไลน์เข้ามาเกี่ยวข้อง สิ่งที่ต้องปรับคือคนที่ยังทำออนไลน์ยังไม่คล่องมากกว่า  

ช่วงแรกผมเกิดความเครียดมากในการทำออนไลน์ เพราะโดยนิสัย ผมต้องออกไปพบปะลูกค้า พอทำงานเสร็จ ผมจะชอบไปเดินดูหนังสือ ดูแฟชั่น ดูสินค้าใหม่ๆ ใน  ฟู้ดคอร์ทหรือซูเปอร์มาร์เก็ต แต่พอมีภาวะนี้เกิดขึ้น เราต้องหาความสุขให้ตัวเองจากกิจกรรมอื่นๆ เช่น ปลูกต้นไม้ในบ้าน การเปิดกล้องทำกิจกรรม คือเราหาความสุขจากรูปแบบอื่นๆ แทนแบบเก่าบ้าง

 

ช่วงที่  5  ช่วงโควิดรายได้ลดลง แต่รายจ่ายมากขึ้น ควรทำอย่างไร โดย คุณสุท นิพิฐพนธ์ และ คุณเบิ้ล คมสัน

คุณสุท ให้ความเห็นว่า เรื่องปากท้องจริงๆ เป็นเรื่องซีเรียสมาก อันดับแรกเราต้องรู้จักการบริหารความเครียดของเราก่อน หากสภาพการเงินไม่คล่อง เราจะได้รับผลกระทบหลายด้าน ไม่ว่าคิดจะทำอะไรจะรู้สึกติดขัดไปหมด เราควรบริหารความรู้สึกกับสิ่งที่เราเผชิญก่อน หากเราจมกับความเครียดของสภาพคล่องทางการเงินนานๆ เราจะ    มูฟออนยาก เพราะเรื่องการเงินเป็นเรื่องหลักที่จะกระทบกับเกือบทั้งหมดของชีวิต แต่เราต้องรู้วิธีจัดการกับความรู้สึกความเครียดก่อน มีลิมิตว่าเครียดได้แค่ไหนพอ ให้คิดว่าชีวิตว่าเราจะผ่านวิกฤตินี้ไปได้แน่นอน ต้องคิดว่าเราไม่ได้เป็นคนที่เจอวิกฤติปัญหานี้หนักที่สุดในประเทศนี้ มีคนแย่กว่าเรา และไม่มีอะไรถาวร เราต้องผ่านได้

 

อันดับสอง เราต้องวางแผนบริหารการเงิน ทั้งรายรับ รายจ่าย และการที่ต้องมีรายได้เพิ่มขึ้น เราควรทำบัญชีในครัวเรือน และบัญชีส่วนตัวแบบละเอียด ให้เราเห็นสภาพคล่องจริงๆ  เมื่อเราทำแจกแจงออกมาดูอีกที ยังไงเราก็จะเจอรูรั่วทางการเงินเพิ่มแน่นอน 

ตอนนี้มีแอพพลิเคชั่นที่ช่วยอุดรูรั่วทางการเงินอีกเยอะมาก  และพออุดรูรั่วเสร็จ ควรหาวิธีว่าเราจะเพิ่มรายได้ในระยะสั้นอย่างไร เพื่อให้คลายความเครียดลงก่อน  ผมไม่อยากให้ทุกคนตั้งโจทย์ในวิกฤติเพียงให้ชีวิตแค่อยู่รอด แต่ต้องอยู่ดีด้วย เพราะจริงๆ เราต้องใช้พลังงานชีวิตเท่ากันในการลงมือทำ  

ถ้าต้องคิดว่าวิกฤตินี้จะอยู่ถึงปี 2023 อาจจะยาวนานจนเรา burn out  ได้เลย มีงานวิจัยของต่างประเทศบอกว่า โลกจะกลับมาอยู่ในภาวะเริ่มต้นก่อนเกิดโควิคในปี 2027 ถ้ามันจริงล่ะ  เราต้องวางแผนระยะยาวด้วย แต่เราจะบริหารจัดการจิตใจตัวเองอย่างไรไม่ให้ burn out ไปก่อน ควรวางแผนเรื่องสร้างรายได้และการเงินในระยะสั้นระยะยาวให้เป็นก้อนเดียวกัน

 ในต่างประเทศมีการให้ความสำคัญกับคำว่า emphathy หรือความเข้าอกเข้าใจผู้อื่นสูงมาก เพราะยุคนี้คนจะมีความเครียดสูงมาก คือให้มองว่าคนเราสามารถล้มได้ ไม่ใช่ว่าไม่เก่ง แต่เขาอาจปรับตัวไม่ทัน แต่เราต้องให้โอกาสเขาในการล้มได้ด้วย 


คุณเบิ้ล คมสัน เสริมว่า การที่เราจะจัดการการเงินได้ดีเราต้องมี 3 อย่าง ความรู้ กำลังใจ และมายเซ็ท โดยเราต้องมี 2 ส่วน อย่างแรกคือ เราต้องบริหารกระแสเงินสดของเราก่อน เราต้องมีการบริหารหารเงินให้ตัวเองก่อน มีงบให้ตัวเองรึยัง ฟิกซ์คอสเราเท่าไร เราใช้จ่ายได้เท่าไร เราต้องทำบัญชีงบการเงินนำหน้าก่อนใช้จ่ายด้วย 

ส่วนที่สอง คือ การหาความรู้ ถึงเวลาแล้วที่เราต้องมานั่งฟังหาความรู้จริงจังเพื่อจัดการกับชีวิตตัวเอง ทั้งทาง FTC Channel ทุกๆ EP และที่สำคัญคือต้องฟังความรู้จากแหล่งที่ถูกต้องด้วย

เราโชคดีมากที่เราอยู่ในธุรกิจนี้ ที่เราสามารถสร้างรายได้มากกว่าคนอื่นเยอะ ระบบต่างๆ ของบริษัทก็สร้างมาให้เราทำธุรกิจได้ง่ายมาก เพราะมีระบบซัพพอร์ทที่ดีมาก เพียงเราโหลด แอพพลิเคชั่น แอมเวย์คลิกเข้ามาไว้ในมือถือ ก็สามารถสร้างรายได้ได้ตลอดเวลา

 

สิ่งที่อยากฝาก อย่างแรกคือ วันนี้เราเครียดเรื่องการเงิน แต่เราอย่าใช้การแก้ปัญหาที่ทำให้เราเครียดกว่าเดิม เช่น เครียดเรื่องเงิน แล้วใช้เงินแก้เครียด  เช่นไปเที่ยวพักเรื่องเครียด หรือถ้าอยู่บ้านเครียด ก็อย่าเข้าเว็บช้อปปิ้งต่างๆ เพราะเราอาจจะเครียดกว่าเดิม ต้องระวังนะครับ อย่างที่สอง เราต้องกล้าตัด ลดอัตตาตัวเอง ในสิ่งที่ยังไม่เหมาะไม่จำเป็นกับการใช้ชีวิตตอนนี้ เช่น เราเคยขับรถระดับ A ลดมาเป็นรถระดับ B ได้มั้ย เราอยู่บ้านใหญ่ กินดีกินแพง วันนี้เราปรับตัวเราสู้เราทำเพื่อให้ตัวเราอยู่รอดได้ ไปต่อได้ แต่บางคนแคร์คนอื่น หลายคนติดกับดักเรื่องนี้ ห่วงเรื่องหน้าตา ผมอยากให้กลับมาห่วงเรื่องครอบครัวคุณดีกว่า อย่าแคร์ที่เปลือกภายนอก หากแก่นของเรามันดี เราจะกลับมาขับเฟอร์รารี่ได้ เพราะกับดักนี้จะอยู่กับคุณไปนาน หากเรารู้ตัวช้าไปเราเคยอยู่บ้านใหญ่มากแล้วพยายามยึดมันไว้ แล้ววันนี้เราไม่จัดการในเวลาที่คุณจัดการได้ วันข้างหน้าถ้าคุณต้องเสียมันไป คุณอาจเสียมันไปแบบที่ไม่ได้อะไรเลย การลดอัตตาเรื่องนี้จะกรองมิตรภาพของคนที่รักคุณจริงได้อีกด้วย 

ทาง FTC มีการให้คำปรึกษาช่วยจัดการช่วยเหลือทางด้านการเงิน เราเป็นสถาบันการเงินที่เกิดมาเพื่อพวกเราคนแอมเวย์คนที่ทำธุรกิจนี้ เพราะสถาบันการเงินข้างนอกอาจไม่เข้าใจเพราะเขาจะใช้ระบบอัลกอริธึ่มในการคัดกรอง หากเครดิตคุณไม่ผ่านเขาก็ปัดทิ้งแล้ว แต่ที่ FTC เราคุยกับคุณเรื่องปัญหาการเงินของคุณ ทีละครึ่งชม. เป็นชั่วโมงๆ เพื่อช่วยหาทางออก ดังนั้นที่นี่จึงเป็นพื้นที่ที่ดีมากๆ ที่สามารถให้คุณเข้ามาปรึกษาปัญหาทางการเงินได้ ขอให้เรามีความแข็งแกร่งทางใจ เราอาจจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือเพื่อไปต่อ เพื่อเติบโตขึ้น ขอให้เข้ามาปรึกษารับความช่วยเหลือ เพราะเราช่วยเพื่อให้เขารอด เพื่อให้เขาดีขึ้นจริงๆ ดังนั้นเมื่อคุณเข้ามาขอรับความช่วยเหลือขอให้คุณบอกเราให้หมด ทั้งข้อมูลเครดิตบูโร หนี้นอกระบบ ฯลฯ เพื่อเราจะช่วยแก้ให้คุณทั้งระบบ ไม่ใช่การให้สินเชื่อแบบที่คุณมีภาระเพิ่มนะครับ

 

คุณทับทิม เสริมว่า ท่านใดมีคำถามเรื่องสินเชื่อ หรือการสมัครเป็นสมาชิก FTC สามารถติดต่อมาทางไลน์ @Freetrade ได้นะคะ

 

บทสรุปความคิดฝ่าวิกฤติโควิด โดย คุณหมอวัชรา

    วันนี้ได้ฟังคุณสุทและคุณเบิ้ล ผมรู้สึกมีความหวังกับสังคมไทย ได้มุมมองจากคนรุ่นใหม่ที่มีวุฒิภาวะสูงมาก และดีใจที่ทั้งสองให้ความสนใจกับกิจกรรมของ FTC ที่เป็นกิจกรรมกึ่งสาธารณกุศล

สิ่งหนึ่งที่อยากเตือนว่า อย่าเพิ่งนำสหกรณ์ไปเปรียบเทียบกับธนาคารมากเกินไป เพราะเป็นคนละแพลทฟอร์ม เรายังไม่มีระบบข้อมูลที่ครบวงจรเหมือนธนาคารทั่วไป 

    ในประเด็นของความว้าเหว่ในการอยู่บ้าน ผมเชื่อว่าหลายๆ ท่านที่งานยุ่ง มีเรื่องต้องทำต้องเรียนรู้มากจะไม่มีเวลาว้าเหว่ครับ เพราะสมัยนี้เรามีเรื่องให้ต้องเรียนรู้มากกว่าตอนที่ยังไม่เกิดโควิด ผมได้เรียนรู้มากกว่าตอนที่ผมอยู่มหาวิทยาลัยเสียอีก 

การให้คุณสุทและคุณเบิ้ลเข้ามาเป็นวิทยากร มาให้ความรู้ทางความคิดกับเราเป็นเรื่องที่ดีมาก ถ้าเทียบต้นทุนความคิดของตัวผมเอง ผมมักคิดไปข้างหน้า วางแผนเรื่องอนาคตทางการเงินตั้งแต่อายุ 30 คิดว่าพออายุ 60 เราอยากจะมีชีวิตและการเงินอย่างไร  และตั้งแต่เด็กผมวางใจอยู่ในความไม่แน่นอนมาตลอด ทำให้ผมสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงความไม่แน่นอนได้ดีระดับหนึ่ง หลายคนอาจรู้สึกว่าผมมีข้อได้เปรียบ แต่วันนี้ฟังมุมมองทั้งสอง เราได้แง่คิดที่ดีมาก

ทุกวิกฤติจะมีคนที่ได้รับผลกระทบทางบวกเสมอ เช่น คนที่เป็นช่างก่อสร้างต่อเติม ช่างไฟฟ้า ช่างระบบ งานจะเยอะเพราะคนอยู่บ้านมากขึ้นมีเวลาที่จะดูแล ซ่อมแซมระบบในบ้านมากขึ้น คนแอมเวย์ก็ได้รับผลกระทบบ้าง แต่อาจไม่ได้กระทบมากเท่าเจ้าของอู่แท็กซี่ พนักงานห้าง หรือคนที่ทำงานสนามบิน ดังนั้นอย่ามองแค่เพียงตัวเอง เพราะคุณจะเครียดมาก แต่เราลองมองไปรอบๆ เราจะพบว่าเราอาจจะอยากขอบคุณตัวเอง ที่เรามีทางเลือกมากกว่าคนอื่น 


คุณสุท นิพิฐพนธ์ ฝากแนวคิดทิ้งท้ายว่า ผมอยากให้กำลังใจทุกคน และอยากให้ทุกคนให้กำลังใจตัวเองว่าไม่มีอะไรที่เป็นนิรันดร์ เราจะผ่านวิกฤติไปได้แน่นอน อยากให้มองข้อดีของปัจจุบันให้ออก อยากให้วางแผนทางการเงิน และวางแผนในการพัฒนาตัวเอง ซึ่งจะทำให้เรารอดแบบยั่งยืนในระยะยาว เพราะต่อให้ทุกอย่างกลับมาเหมือนเดิมแต่สิ่งต่างๆ รอบตัวเราจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ดังนั้นเราควรพัฒนาตัวเองทั้งในเรื่องไลฟ์สไตล์ บุคลิด ทัศนคติ ความรู้ในการทำธุรกิจ หวังว่าเราจะมีโอกาสได้เจอกันข้างนอก และรักษาสุขภาพด้วยครับ

 

คุณเบิ้ล คมสัน อยากฝากให้ทุกคนลดและเพิ่ม  สิ่งที่ลดคืออยากให้ลดค่าใช้จ่าย ลดความคิดด้านลบ ลดอัตตา ลดความเป็นตัวเองลง สิ่งที่อยากให้เพิ่ม คือ เพิ่มสติ เพิ่มความพยายาม เพิ่มความหวัง และเพิ่มกำลังใจ วันนึงเราจะผ่านวิกฤตินี้ไปแน่นอน แต่เมื่อเราผ่านไป เราจะผ่านไปแบบมีสถานะแบบไหน ผมอยากจะจับมือทุกคนให้เราผ่านไปด้วยกัน แต่เราเลือกที่จะผ่านแบบมีชีวิตที่ดีขึ้น มีสุขความสำเร็จมากขึ้น เราจะผ่านไปด้วยกัน รักทุกคนนะครับ

 

คุณสุวิทย์ วันนี้ดีใจที่คนรุ่นใหม่ในทีมของพวกเรามีศักยภาพมาก ผมเชื่อว่าเรามีทัศนคติที่ดีในการฝ่าฟันสถานการณ์วิกฤติได้อย่างดี อยากฝากว่า ความรู้ที่เรามีในยุคนี้หมดอายุเร็วมากๆ ความรู้ที่เราเคยคิดว่าถูกต้องในอดีตเราพบแล้วว่าอาจต้องปรับเปลี่ยน ดังนั้น Life-long learning การเรียนรู้ตลอดชีวิตเป็นส่ิงสำคัญมาก การที่เรามีเทคโนโลยีการสื่อสารที่สะดวกในยุคนี้เป็นประโยชน์กับเราอย่างยิ่งยวด ทำให้เราเข้าถึงความรู้ใหม่ๆ ทั่วโลกมากมาย 

ทั้งเรื่องความรู้ทางธุรกิจ และความรู้ทางการเงิน เรื่อง Crypto Currency, Digital Money

และธนาคารแห่งประเทศไทย มีแผนที่จะปรับย้ายเงินกระดาษและเงินเหรียญมาเป็นเงินดิจิตอล เรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องที่จำเป็นต้องเรียนรู้

ท่านที่เข้ามาที่ FTC Channel มาถูกทางแล้วครับ เพราะช่องทางนี้มีความรู้หมุนเวียน มาให้ท่านตลอด แม้แต่สปีคเกอร์ของเราก็ต้องหาความรู้ใหม่ๆ เตรียมมาอัพเดทเรา นี่คือการพัฒนาไม่มีสิ้นสุด ขอให้ทุกท่านอยู่บ้านตอนนี้ก็ให้หันมาเปิดรับสิ่งที่พัฒนาตนเองด้วย เพื่อเราจะมูฟออนก้าวทันโลกตลอดเวลา และขอให้ทุกท่านสุขภาพแข็งแรงครับ 

 

ดร. สุเมธา กล่าวว่า ดีใจครับที่มีผู้นำรุ่นใหม่ๆ ที่เราสามารถฝากอนาคตของสหกรณ์ไว้ได้ เพราะทั้งสองท่านวุฒิภาวะสูงมาก

ขออัพเดทข้อมูลให้ทราบว่า เมื่อสองสัปดาห์ที่แล้ว รัฐบาลมีการประชุมและเตรียมจะประกาศให้  Covid-19 เป็นโรคประจำถิ่นแล้วนะครับ เมื่อประกาศเป็นโรคประจำถิ่นคือจะไม่มีการช่วยเหลือจากรัฐแล้ว หากป่วยต้องรักษาเอง ทางรัฐจะเร่งฉีดวัคซีนให้ครบ 

ถ้าพูดถึงการเงิน พวกเราโชคดีที่อยู่ในอุตสาหกรรมที่ทำเงินได้ง่ายคือธุรกิจแอมเวย์ และมาเป็นสมาชิกสหกรณ์ FTC มนุษย์เราโชคดีที่สามารถปรับตัวได้ เราจะอยู่ท่ามกลางวิกฤติทุกอย่างได้ เราต้องเปลี่ยนแปลง มีทัศนคติที่ดีขึ้น พัฒนามากขึ้น ถ้าเราอยากมีชีวิตที่ดีขึ้น ก็เพียงใส่แรงในเครื่องมือมากขึ้นใช้เวลามากขึ้น เราจะได้ผลลัพธ์มากขึ้น การทำออนไลน์หลายคนรอให้เราใช้เฟสบุค อินสตราแกรมเป็นก่อน สิ่งเหล่านี้เราต้องฝึกก็จริง แต่ผมมองว่าเราเพียงยกโทรศัพท์มาโทรคุยกับผู้มุ่งหวัง ดาวไลน์ มีปฏิสัมพันธ์กับคนมากขึ้น ส่งความห่วงใย ให้ความใส่ใจใกล้ชิด ถามสารทุกข์สุขดิบกับผู้คนที่เรารู้จักมากขึ้น ก็เป็นการทำออนไลน์แล้ว ตอนนี้ผมโทรคุยกับคนช่วงเช้าวันละ 3 ครั้ง บ่าย 3 ครั้ง ผมได้อ่านหนังสือของดร.ปีเตอร์-อีวา มัลเลอร์ ท่านบอกว่า ตอนที่ยุโรปเดินทางติดต่อกันลำบาก ตอนนั้นท่านโทรศัพท์คุยกับดาวไลน์วันละ 300 ครั้ง สร้างองค์กร จนสำเร็จเป็นมงกุฎทูตภายในสองสามปี เพียงว่าเราได้ทำรึยัง เราใช้โทรศัพท์คุยง่ายที่สุด พอเราใช้โทรศัพท์คุยแล้วใช้แอพพลิเคชั่นของบริษัททำงาน เราสอนให้เขาใช้ระบบแอพพลิเคชั่นของบริษัทที่ซัพพอร์ทพร้อมอยู่แล้ว แค่ใช้ Easy Sign up , Zoom , Line ก็สามารถสร้างธุรกิจได้ 

 

หากเรามีปัญหาเรื่องการเงิน เราต้องฝึกการออมก่อน และแก้หนี้ไปด้วย เราสามารถเข้ามาพูดคุยกับสหกรณ์ได้ เราดีกว่าธนาคารเพราะเราเป็นพวกเดียวกัน เราร่วมหุ้นกันเป็นเจ้าของร่วมกัน เรามีเจ้าหน้าที่และที่ปรึกษา ที่ให้คำแนะนำช่วยท่านผ่านปัญหาไปได้ ขอให้ทุกท่านดูแลตัวเองและสร้างรายได้ให้คุ้มกับคุณภาพชีวิตที่เราต้องการนะครับ 


ช่วงท้าย ตกผลึกความคิดจากผู้รู้

    วันนี้เราได้ลับคมความคิดดีๆ จากวิทยากรรุ่นใหม่ทั้งสองท่าน เพื่อนๆ คงได้ชาร์จพลังความคิดและพลังใจในการผ่าฟันวิกฤติ Covid-19 ไปอย่างเต็มเปี่ยมแน่นอน ก่อนจากกันแอดขอสรุปแนวทางการติดอาวุธลับทางความคิด 5 ประการที่จะพาเพื่อนๆ ฝ่าวิกฤติ Covid-19  ไปด้วยกัน

   อาวุธลับที่ 1 : ลับกระบี่ให้คม เพิ่มเซ็ทความรู้ใหม่ ที่ช่วยพัฒนาตนเองทุกมิติ ทั้งการเงิน ธุรกิจ และเสริมทักษะใหม่ๆ เพื่อให้มูฟออนผ่านวิกฤติได้ในระยะยาว

    อาวุธลับที่ 2 : วิชานินจา ปรับตัวให้เร็วเคยชินให้ไว วางใจให้ถูกที่ พร้อมรับทุกสถานการณ์ 

    อาวุธลับที่ 3 : วิชาตัวเบา ตัดรายจ่าย ตัดความคิดลบ ตัดอัตตาตัวตนที่เป็นภาระหนักพาอับจน

    อาวุธลับที่ 4 : วิชามหาอุด อุดทุกรูรั่วทางการเงิน โดยทำบัญชีกระแสเงินสดล่วงหน้าแบบแจกแจงรายละเอียด 
  อาวุธลับที่ 5 : วิชาพรางตัวจากทุกข์ ฝึกจิตให้มีสุขและมีสติเมื่ออยู่กับตัวเอง  ฝึกปฏิบัติความดี เพิ่มกำลังใจ และความพยายามในทางที่ถูกต้อง

    

เพื่อนๆ สามารถติดตามเรื่องราวดีๆ ทางการเงินและสุขภาพ พร้อมทั้งแนวคิด แรงบันดาลใจจากคนรุ่นใหม่ ทาง  FTC Channel ทุกวันเสาร์เวลา 10.00-11.00 น. แล้วพบกันใหม่สัปดาห์หน้านะ!